ผู้ประกอกการต้องมีวินัยในการปรับตัวและเรียนรู้
นายทารีฟ เจฟเฟอร์ลี ผู้คิดค้นแอพพลิเคชั่น Chatterbox บริษัท Chatterbox จำกัด สตาร์อัพที่ประสบความสำเร็จ และเป็น 1 ใน 12 พี่เลี้ยงให้กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องมีวินัยในการเรียนรู้ตลาดและปรับตัว ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จต้องรู้ว่าเราสร้างผลิตภัณฑ์นั้นมาแก้ไขปัญหาอะไร ใครเป็นผู้ใช้ และจะดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างไร สตาร์อัพไม่ควรแข่งขันแย่งลูกค้าและตลาดกันเอง แต่ควรแข่งกันเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0 ที่การใช้ดิจิทัลผสมผสานลงในกิจการต่าง ๆ อย่างแยกไม่ออก อีกทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งทีสำคัญ หรือการทำ Primary Market Research เป้าหมายก็คือให้ได้รู้จักลูกค้าของเรานั่นเอง ให้เราเข้าไปสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับลูกค้า มี 1 คนสัมภาษณ์และอีก 1 คนจดบันทึก เพื่อที่จะได้รู้ถึงมุมมองของลูกค้าในปัญหาที่เรากำลังจะเข้าไปแก้ ให้ลูกค้าได้อธิบายให้เต็มที่ และถ้าเป็นไปได้ก็ให้เข้าไปสังเกตการณ์ในสถานการณ์ที่ลูกค้าบอกว่าเป็นปัญหา ดูพฤติกรรมว่าเขาทำอย่างไรเวลาเกิดสิ่งนั้นขึ้น เพราะบางทีผู้ประกอบการเองก็อาจจะได้ไอเดียในการแก้ปัญหาแบบใหม่ก็เป็นได้
โดยโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม 100 SID นายทารีฟ เจฟเฟอร์ลี ได้มาเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไฟแรง 2 ท่านได้แก่ นางสาวปณีดา ฟองพิกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ จันบัวลา
นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนฐานราก
นางสาวปณีดา ฟองพิกุล นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักการตลาดให้กับแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกรายใหญ่ ได้เดินทางไปทั่วทุกแห่งหน เป็นผู้ก่อตั้ง Siam Innoventure Drive (SID) และเจ้าของแบรนด์ Location-Based Marketing Man (Lmm) ที่เน้นการใช้ Google Local Guide ในการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชน และ Google My Business ซึ่งเป็น 1 ใน 55 ทีมที่ผ่านมากคัดเลือก กล่าวว่า นวัตกรรมที่เหมาะสมกับเมืองไทย ไม่สามารถไปมุ่งเน้นที่จะตอบสนองคนเมืองที่มีโอกาสมากกว่าอยู่แล้ว แต่เป็นการลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงตลาดและเทคโนโลยีเพื่อสร้างธุรกิจขนาดเล็กตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดทั้งแรงบันดาลใจ และเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ทั้งตัวธุรกิจเป้าหมายขนาดเล็กและการแสดงพันธกิจของโครงการไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของเมืองไทยได้ เพื่อเป็นการสร้างสตาร์ทอัพขึ้นมาและอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ จันบัวลา นักวิจัยและกรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีที ครีเอทีฟ เจ้าของแบรนด์เม็ดดินมวลเบาธรรมชาติ TUSSU for SID ผู้ที่ได้รับรางวัลและทุนวิจัยมามากมายเป็น 1 ใน 55 ทีมที่ผ่านมการคัดเลือก เมื่อได้โอกาสการสนับสนุนจาก SID (Siam Innovation District) ก็ได้ทุ่มเท ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตเม็ดดินมวลเบา เม็ดดินชีวภาพ เม็ดดินอินทรีย์ ที่ใช้ในการเกษตรและเม็ดดินอโรม่า เพื่อใช้สำหรับธุรกิจสปา เพื่อให้ SID นำไปใช้ประโยชน์ทั้งในและนอกสถานที่ และเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่บูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์จากภูมิปัญญาชาวบ้านและองค์ความรู้งานวิจัยระดับนานาชาติอย่างลงตัว นอกจากนี้ยังใช้ช่องทางการสร้างธุรกิจจาก Location-Based Marketing Man (Lmm) ของคุณปณีดา ในการการแนะนำและกระจายสิ้นค้าและบริการตัวนี้ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยนำความเจริญจากนวัตกรรมสู่ชุมชนอย่างกระจายตัว ถือเป็นการผสมผสานระหว่าง Digital และ Agricultural Development ได้อย่างเหมาะสมลงตัว