กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำหุ่นยนต์ร่วมจัดแสดงโชว์ในงาน Thailand Robotics Week 2017 และการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ RoboCup Asia-Pacific 2017 (RCAP 2017)

จันทร์ ๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๑๕
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ดร.เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล ผู้อำนวยการกองวัสดุและวิศวกรรม ผู้แทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมงานพร้อมนำหุ่นยนต์ซึ่งเป็นผลงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมจัดแสดงในงาน Thailand Robotics Week 2017 และการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ RoboCup Asia-Pacific 2017 (RCAP 2017) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา วันที่ 14 ธันวาคม 2560

ดร.เทพีวรรณฯ กล่าวว่า ตามที่นโยบายประเทศไทยมุ่งสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจสู่ยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม Thailand 4.0 ผสมผสานด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนาต่อยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ ในส่วนของกลุ่มงานกองวัสดุและวิศวกรรม มีความพร้อมในส่วนงานทางด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งมีการดำเนินงานมามากกว่า 10 ปี โดยเน้นทางด้านวิจัยและพัฒนา เรามีผลงานที่เป็นรูปธรรมอยู่มากมายเพื่อใช้ในงานวิจัยและสำรวจ ในงานอุตสาหกรรม รวมถึงในด้านการแพทย์อีกด้วย

ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เจ้าของผลงานวิจัยฯ กล่าวว่า ผลงานที่นำมาจัดแสดง ประกอบด้วย เรืออัตโนมัติสำหรับงานสำรวจและเก็บข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นผลงานที่ทำออกมาได้ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งหน่วยงานหลักที่ทำงานร่วมกันคือ สสนก. เป็นผลงานที่ต่อยอดจากเดิมโดยนำมาปรับขนาดให้กะทัดรัดคล่องตัวในการใช้งาน เป็นเรือสีชมพูโดยใช้บุคลากรเพียงแค่ 1-2 คนในการปฏิบัติก็จะได้ข้อมูลตามที่เราต้องการ อย่างที่เราทราบก็คือข้อมูลทางด้านน้ำในประเทศยังน้อยมาก การใช้อุปกรณ์แบบนี้จะทำให้มีข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างแม่นยำและในระยะเวลารวดเร็ว เช่น ความลึกของน้ำ ความลึกของอ่างเก็บน้ำ ความลึกของเขื่อน เป็นต้น เพื่อจะได้นำข้อมูลไปดำเนินการในด้านการบริหารจัดการน้ำต่อไป

ผลงานที่2 คือ รถขนส่งในโรงพยาบาลขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือเรียกอีกอย่างว่า AGV เป็นผลงานที่ต่อยอดจากผลงานที่เคยทำ มาปรับโฉมให้ทันสมัยเหมาะกับงานด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการขนส่งในส่วนของโรงพยาบาลที่มีความต้องการอย่างมาก ระบบการทำงานจะใช้เซ็นเซอร์นำทางและบอกตำแหน่งของรถเพื่อที่จะควบคุมระบบ ตอนนี้มีหน่วยงานที่สนใจมากมาย อาทิ รพ.วชิรพยาบาล รพ.จุฬาฯ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่สนใจก็มีการติดต่อเข้ามาเพื่อจะนำไปต่อยอดในด้านของอุตสาหกรรมและโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น

ผลงานชิ้นที่ 3 คือ รถฟอร์คลิฟท์อัตโนมัติ ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง สกว. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชน ซึ่งความคิดหลักของเรา คือ ปัจจุบันเวลาส่งของในพื้นที่โรงงานถ้าเป็นพวกอุปกรณ์ชิ้นเล็กก็จะมีหุ่นยนต์ตัวเล็กใช้งานอยู่แล้ว แต่การขนส่งระดับใหญ่ที่มีน้ำหนัก 1.5 ตัน - 2 ตัน ขึ้นไป ยังไม่ค่อยมีการคิดค้นในเรื่องนี้ เลยใช้จุดนี้ทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบที่จะให้สามารถขนส่งโหลดสิ่งของชิ้นใหญ่ได้ ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถบรรทุกสิ่งของหนักได้ถึง 2.5 ตัน โดยใช้ระบบเซ็นเซอร์ในการควบคุม สามารถจะลดภาระด้านขนส่งสินค้าเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่เราต้องการได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO