1. เกษตรกรควรวางแผนระยะเวลาการเลี้ยงปลาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หรือควรเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว
2. ควรมีบ่อพักน้ำใช้เพื่อใช้ในฟาร์มได้เพียงพอตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว
3. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับฤดูกาล และหากจะเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว ควรเลือกชนิดปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด
4. ควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม ลดปริมาณอาหาร เนื่องจากช่วงอุณหภูมิต่ำ ปลาจะกินอาหารได้น้อยลง เนื่องจากอาหารที่เหลือจะสะสมตามพื้นบ่อเกิดการเน่าเสียเป็นสาเหตุให้น้ำเสียได้
5. ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ โดยใช้ปูนขาวในอัตรา 60 - 100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
6. หากพบปลาป่วยหรือมีอาการผิดปกติในแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้รีบปิดทางน้ำเข้าและหยุดการเติมน้ำจากธรรมชาติเข้ามาในบ่อโดยทันที
7. ในระหว่างที่ไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ ให้ควบคุมปริมาณการให้อาหาร
8. หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อให้ใช้เกลือสาดบริเวณดังกล่าวประมาณ 200 - 300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
9. หากพบปลาตายในบ่อเลี้ยงให้กำจัดโดยการฝังหรือเผา
10. เมื่ออากาศเริ่มเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น) และพบว่าปลาในธรรมชาติหายป่วยควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม และให้อาหารปลาได้ตามปกติ
ทั้งนี้ เกษตรกรควรหมั่นสังเกตและดูแลสัตว์น้ำในระยะดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากพบปลาป่วยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถแจ้งหรือขอรับคำปรึกษาได้ที่สำนักงานประมงจังหวัด หรือศูนย์วิจัยฯ ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ หรือ กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2579 4122