ก้าวให้ทันโลก กับเทรนด์ธุรกิจออนไลน์ในปี 2018

อังคาร ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๕๒
บทความประชาสัมพันธ์โดย

ดร.สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร GEMBA

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในยุค 4.0 นี้ มักจะได้ยินบ่อยๆว่า "การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเติบโตแบบก้าวกระโดด ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ใครๆก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้ เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนเพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็ว"

ทำให้ 1-2 ปีมานี้ พบว่าประเทศไทยเกิดพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ขึ้นมากมาย ที่เติบโตขึ้นตามอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟน โซเชียลมีเดีย และอินเทอร์เน็ต ทำให้ตอนนี้ตลาดขายสินค้าออนไลน์ในไทยกลายเป็น Red Ocean มีการแข่งขันกันสูงมาก ทุกคนต่างทำเพจขายสินค้ากันแข่งขันกันหายอดไลค์ยอดแชร์ ด้วยวิธีการเหมือน ๆ กันหมด คือการทำคอนเทนต์คุณภาพดี ๆ ไม่ก็อัดงบซื้อโฆษณาออนไลน์เยอะๆ เพราะคิดว่าหากช่องทางสื่อสารที่มีสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมาก ๆ จะเป็นทางรอดของธุรกิจ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในเรื่องการทำธุรกิจในยุค 4.0 ที่ภาครัฐพยายามจะผลักดันนั้น ยังคงมีหนทางอีกยาวไกล เพราะคำว่าธุรกิจในยุค 4.0 ที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจเป็นเพียงเรื่องของการใช้แพลตฟอร์มเป็นเครื่องมือ เป็น Market Place เพื่อขายของและเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ แนวคิดสำหรับธุรกิจในอนาคตจริงๆ ยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนมากนัก

หากจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดให้เห็นถึงแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจในยุค 4.0 จะต้องเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำหรับโลกอนาคตที่เป็นดิจิทัลและมีความเป็น Globalization ได้ไปพร้อม ๆ กัน อาทิ จีนมี Alibaba ที่โดดเด่นในเรื่องช่องทางค้าปลีกออนไลน์ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กในประเทศสามารถมาใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งระบบเศรษฐกิจในประเทศและทั่วโลก ญี่ปุ่นมี Bitcoin ที่เป็นหน่วยสกุลเงินในโลกดิจิทัล อยู่ภายใต้การดูแลของระบบเน็ตเวิร์คคอมพิวเตอร์ ไม่มีการควบคุมด้วยแบงค์ชาติหรือธนาคาร ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกที่ยอมรับหน่วยสกุลเงินนี้สามารถใช้สกุลเงินเดียวกันเพื่อทำการค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อจำกัดทางธุรกรรมที่ยุ่งยาก

หรือแม้กระทั่งอินเดียที่สามารถผลิตบุคลากรอัจฉริยะทางด้านไอทีกระจายตัวทำงานอยู่ใน "ซิลิคอน วัลเลย์" แหล่งร่วมบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลกมากที่สุดในโลก โดยบริษัทอินเดีย 7 แห่งถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 15 บริษัทรับจ้างทางเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ทำให้มีการประมาณว่าอินเดียจะมีรายได้จากธุรกิจไอทีได้สูงถึง 2.25 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2020 ในขณะที่ประเทศไทยในสายตานักธุรกิจต่างชาติ คือกลุ่มลูกค้าที่เป็นขุมทรัพย์ มีกำลังซื้อ และเข้าถึงง่ายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะช่องทาง Facebook ที่ไทยติดอันดับ 8 ประเทศที่ใช้งาน Facebookสูงสุด หรือจำนวน 47 ล้านคน และทุกคนรู้จัก คุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์จนทำให้ในปีที่ผ่านมาเม็ดเงินในตลาดค้าปลีกออนไลน์สูงถึงหนึ่งแสนล้านบาทหรือเติบโตขึ้น 15 – 20%เมื่อเทียบกับปี 2015 แต่ตัวเลขการเติบโตดังกล่าวไม่ได้ทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของไทยดีขึ้นเท่าไรนัก เพราะรัฐบาลไม่สามารถจัดเก็บภาษีเข้าประเทศได้เต็มที่ และไม่สามารถตรวจสอบอัตราการไหลของเงินในระบบออนไลน์ได้เหมือนระบบดั้งเดิม

ฉะนั้น สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับประเทศไทยตอนนี้ คือ การสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นของตัวเอง และต้องตอบโจทย์ความต้องการ สามารถแก้ไขปัญหาใกล้ตัวที่ถูกมองข้ามออกมาให้ได้ แล้วนำเสนอออกมาในรูปของโซลูชั่นในแต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งแนวทางดังกล่าวแตกต่างจากความท้าทายของการทำธุรกิจในอดีต ที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี Product ต้องสร้าง Brand สร้าง Story ให้สินค้าเกิดความแตกต่าง มีคุณค่า เพื่อสร้างรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการที่จะนำพาประเทศไปแข่งขันได้ในระดับนานาชาตินั้น จำเป็นต้องอาศัยภาครัฐที่เป็น Digital Government เพื่อสนับสนุนรูปแบบการทำธุรกิจในอนาคต ทั้งในเรื่องกฎหมาย ภาษี ระเบียบขั้นตอนต่าง ๆ ต้องถูกสร้างมาโดยความเข้าใจถึงดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยเริ่มจากการสร้างบิ้กดาต้าที่เป็นระบบ ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ ทั้งระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ภาครัฐกับธุรกิจ และธุรกิจกับธุรกิจ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่เป็นที่ต้องการให้เกิดขึ้นได้

"อย่างไรก็ดี หากภาครัฐ และผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถหลุดจากแนวคิดเดิมได้ ก็เป็นเหมือนการนับถอยหลังรอวันถูกเทคโนโลยี Disruption ตามหลายธุรกิจที่ถูกทำลายลง การที่องค์กรมีขนาดใหญ่ ทำธุรกิจมานานหลายสิบปีไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความมั่นคงและความยั่งยืนของธุรกิจอีกต่อไป หัวใจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจในอนาคต คือต้องง่ายและแก้ไขปัญหาที่เป็น Pain Point ของลูกค้าได้จริง ผู้ประกอบการต้องพยายามเรียนรู้และปรับแนวคิดให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น มองทุกอย่างเป็น Globalization เรียนรู้ผู้บริโภคระดับโลก (Global Consumer) ศึกษาธุรกิจนานาชาติ จากบริษัทชั้นนำในระดับโลก เพื่อหาแนวคิด มองเห็นถึงอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบเจาะลึก จึงจะสามารถสร้างแพลตฟอร์มธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ และตอบโจทย์ความต้องการในโลกอนาคตได้"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version