“กฤษฎา” ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร ยันรัฐเดินหน้านโยบายเข้มข้นพร้อมดึงเอกชนร่วมสร้างความเชื่อมั่นด้านตลาด มั่นใจขยายพท.เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศได้อีกกว่า 6 แสนไร่

พุธ ๒๐ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๕๒
วันนี้ ( 20 ธ.ค.60 ) เวลา 10.00 น. นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานพิธีเปิด และร่วมเสวนาโครงการ "รวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ณ กลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ ต.นาโส่ อ.กุดชุม จังหวัดยโสธร โดยมีนายนิกร สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวต้อนรับ พบปะหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกร มอบวงเงินสินเชื่อโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2560/61 ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ วงเงิน 20 ล้านบาท กลุ่มสหกรณ์การเกษตรธรรมชาติอินทรีย์หนองยอ วงเงิน 4 ล้านบาท สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด วงเงิน 12 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ วงเงิน 9 ล้านบาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โป้งเสริญ (กุดแข้ด่อน) วงเงิน 1 ล้านบาท จากนั้นได้ร่วมกิจกรรมเสวนา "แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม) นายโจน จันได พ่อมั่น สามสี พ่อบุญส่ง มาตขาว ก่อนตรวจเยี่ยมกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตรวจเยี่ยมการรับซื้อผลผลิตข้าวอินทรีย์ ของกลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ ตรวจเยี่ยมงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนในช่วงบ่ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยัง สวนตาผอง บ้านสุขเกษม ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร เพื่อตรวจเยี่ยมงาน Young Smart Farmer และคนกล้าคืนถิ่น (Young Farmer Club) โดยมี นางสาวรสสุคนธ์ สุวรรณเพชร บรรยายสรุป

การพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เกิดการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยมีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ , ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งโดยจะใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมบูรณการยุทธศาสตร์ทั้งหมดให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์ได้ถึง 6 แสนไร่ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อให้มีความชัดเจนและแนวทางในการให้ความรู้แก่เกษตรกรที่จะมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ไว้แล้ว โดยแบ่งเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่มสำคัญ คือ กลุ่มที่ 1 จะเป็นกลุ่มที่รับสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยจะได้รับการสนับสนุนทั้งปัจจัยการผลิตและความรู้เบื้องต้น กลุ่ม 2 จะเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมยกระดับต่อยอดความรู้ที่มีอยู่แล้ว และกลุ่มที่ 3 คือ เกษตรกรที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์แล้ว โดยทั้งหมดภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือในการหาตลาดและเพิ่มช่องส่งเสริมการขายที่มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นและคุณภาพให้กับสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตออกมา

และที่สำคัญที่สุดเพื่อยกระดับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่ระดับที่เข้มข้นมากขึ้น จะต้องมุ่งเน้นไปที่การทำงานร่วมกับเกษตรกรมากยิ่งขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมอันได้แก่การเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสร้างความไว้วางใจและสร้างเครือข่ายกับหุ้นส่วนการพัฒนารายใหม่ๆ ระหว่างเกษตรกรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมไปถึงการสนับสนุนระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง เป็นต้น ซึ่งการที่จะบรรลุผลสำเร็จเหล่านี้ได้ต้องอาศัยเกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรเอกชน ทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสที่จังหวัดยโสธรจะพัฒนาให้เป็น "เมืองเกษตรอินทรีย์" หรือ "Land of Organic" ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านของคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

จังหวัดยโสธร ปัจจุบันมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งสิ้น 134,406.25 ไร่ แบ่งเป็น มาตรฐานสากล จำนวน 54,906.75 ไร่ มาตรฐาน มกษ.9000 จำนวน 55,054.50 ไร่ การรับรองมาตรฐานตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS) จำนวน 24,445 ไร่ พืชอื่นๆ เช่น แตงโม ไผ่ กระเจียวหวาน ถั่วลิสง หอมแดง เป็นต้น ไข่ไก่อินทรีย์ จำนวน 74 ราย ประมงอินทรีย์ จำนวน 3 ราย ทั้งนี้ การจัดโครงการ "รวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ให้แพร่หลาย เพิ่มจำนวนเกษตรกรทำอินทรีย์และพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดให้มากขึ้น ที่ครอบคลุมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด โดยผู้ร่วมงานในวันนี้ เป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ จำนวน 300 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม