?เนื่องด้วยสถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน เป็นหน่วยงานในสังกัดของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดวิสัยทัศน์ในการเป็น "องค์กรแห่งนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณา-การ" โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ การกำหนดทิศทางการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การพัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการองค์กรและการสร้างและขยายการยอมรับในวงกว้าง โดยมีพันธกิจหลัก คือ
1. บริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
2. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3. บริการวิชาการและให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการน้ำ
4. จัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอภาครัฐ (ข้อมูลจาก War Room)
?นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากยุทธศาสตร์และพันธ-กิจหลักตามที่ได้เรียนเบื้องต้น ประกอบกับทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพ-ภูมิอากาศส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมากขึ้นทุกปี จึงอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งสถาบันน้ำ ฯ ได้พิจารณาและเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว ในการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และสำหรับภาคอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นภาคการผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และน้ำถือว่าเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญยิ่ง โดยหลายภาคส่วนได้พยายามพัฒนาหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการที่สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาอุปสรรคของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละพื้นที่ได้ การให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน โดยการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งต้องเกิดจากการบริหารจัดการโดยบุคลากรที่มีศักยภาพ และมีความรู้ ความสามารถ จึงได้มีแนวคิดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน โดยจะเห็นได้ว่าพื้นที่ภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมหนาแน่น มีเงินลงทุนสูง และมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก จึงควรเน้นให้ความสำคัญในการดำเนินงานในพื้นที่ภาคกลางก่อน แล้วจึงค่อยขยายผลต่อไปให้ครอบคลุมในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศต่อไป
?พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำแนวทางการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำ และตอบสนองความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้อย่างตรงจุด เนื่องจากผ่านกระบวนการรับฟังข้อมูล และข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อนำมาใช้พัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน และยังช่วยส่งเสริมและสนับสนุนภาครัฐให้มีข้อมูลหรือมีแนวทางที่สามารถนำไปใช้ประกอบการวางนโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมต่อไป โดยโครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) พ.ศ. 2556 - 2561 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ในประเด็นหลักที่ 21 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการน้ำ โดยเน้นการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการบริหารจัดการน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยั่งยืน ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายมีแหล่งน้ำที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่มีปริมาณเพียงพอโดยการมีส่วนร่วม โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญของกระทรวงฯ คือ การสร้างกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำเป็นฐานในการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนรวมทั้งการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำ บูรณาการน้ำผิวดิน ใต้ดิน และกำหนดมาตรฐานพัฒนาระบบน้ำสะอาด สำหรับงานสัมมนาในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมอย่างบูรณาการ จึงอยากขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในส่วนกลางและที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการนี้ ในการผลักดันโครงการ เสนอแนะ และจากข้อเสนอแนะของโครงการที่ท่านเห็นว่ามีความเหมาะสมสำหรับนำไปสู่การปฎิบัติ เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลลัพธ์และผลผลิตจากการดำเนินโครงการนี้ จะสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืนต่อไป