ภาคปศุสัตว์ ร้องรัฐทบทวนการคุมนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ด่วน ย้ำ อย่าซ้ำเติมเกษตรกรผู้ใช้และภาคการผลิตในภาวะราคาตกต่ำ

อังคาร ๒๖ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๕๖
11 สมาคมผู้ใช้อาหารสัตว์ ร้องรัฐบาลทบทวนมาตรการควบคุมนำเข้าข้าวสาลีในสัดส่วน 3:1 ด่วน พร้อมแจงมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงทำให้สังคมเข้าใจผิด หวังฉวยโอกาสเก็งกำไรจากราคาข้าวโพดของไทยสูง

จากสถานการณ์ราคาข้าวโพดในประเทศในขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับราคาเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและตลาดโลกตกต่ำ และกระทรวงพาณิชย์ประกาศมาตรการควบคุมการนำเข้าสาลีในอัตรา 3:1 (ซื้อข้าวโพดในประเทศ 3ส่วน เพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1ส่วน) เป็นมาตรการชั่วคราว เพื่อปกป้องเกษตรกรในประเทศ ส่งผลให้ห่วงโซ่ภาคปศุสัตว์ ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ ต่อไปยังอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อสัตว์ ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้นอย่างมาก การส่งออกไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลกได้ ขณะที่ต้องแบกภาระขาดทุนสะสมต่อเนื่องจากปัญหาราคาเนื้อสัตว์ตกต่ำ รัฐบาลจึงควรมีการทบทวนมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี เพื่อแก้วิกฤติราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออกของประเทศ

สำหรับ 11 สมาคมปศุสัตว์และสมาคมสัตวน้ำ ที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์ฯ ประกอบด้วย สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมกุ้งไทย และสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย

นายคึกฤทธิ์ อารีย์ปกรณ์ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้เนื้อสัตว์ทั้งเนื้อหมูและเนื้อประสบปัญหาขาดทุน จากราคาปรับตัวลดลงทั้งในประเทศและราคาในตลาดโลก ตามอุปสงค์-อุปทาน ซึ่งราคาต้นทุนไก่ในประเทศขณะนี้ 34บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 30-31บาทต่อกิโลกรัม อยู่ในภาวะขาดทุน

"การที่วัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาสูงขึ้น เป็นการซ้ำเติมภาคปศุสัตว์และการส่งออก เนื่องจากปัจจุบันไทยมีคู่แข่งมากมาย และปีหน้าแนวโน้มการแข่งขันจะสูงขึ้น ทั้งในอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวโพดและข้าวสาลีที่สำคัญของโลก" นายคึกฤทธิ์ กล่าว

นายคึกฤทธิ์ ย้ำว่า ภาวะราคาเนื้อสัตว์ต่ำ ภาคปศุสัตว์ต้องดูแลรับผิดชอบตัวเองโดยไม่ได้รับการปกป้องจากภาคส่วนใด ซึ่งจำเป็นต้องดูทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหารและให้การคุ้มครองอย่างเหมาะสม ไม่ควรมีข้อจำกัดที่เคร่งครัดมากจนไม่สามารถแข่งขันทั้งในอาเซียนและตลาดโลก การจำกัดการนำเข้าส่งออกจึงไม่ใช่ทางออกเดียว

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุลเลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์ กล่าวว่า รัฐบาลอนุมัติให้มีการนำเข้าข้าวสาลีเพื่อแก้ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขาดแคลนในประเทศ ซึ่งข้อเท็จจริงการนำเข้าข้าวสาลี 4 ล้านตัน จะต้องแบ่งออกตัวเลขการนำเข้าออกเป็นการนำเข้ามาเพื่อผลิตอาหารสัตว์ และผลิตอาหารมนุษย์ ซึ่งปกติเกรดอาหารมนุษย์จะมีการนำเข้าปีละประมาณ 1 ล้านตันทุกปี ซึ่งการนำเข้าตามมาตรการ 3 : 1 มีการนำเข้าเกรดอาหารสัตว์ 10 เดือนอยู่ที่ 1.27 ล้านตัน เท่านั้น (ไม่ใช่ 2.1ล้านตัน)

นอกจากนี้ กรณีการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสีจากประเทศยูเครนและ 14 ประเทศใกล้เคียง กรมปศุสัตว์ได้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและยังไม่พบการปนเปื้อน โดยกำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข

ในปี 2560 ประเทศไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ 4.6 ล้านตัน เมื่อรวมกับการนำเข้าข้าวสาลีตั้งแต่ต้นปีจำนวน 1.27 ล้านตัน รวมแล้วมีวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์เพียง 6 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 8.1 ล้านตัน

"ขณะนี้ ผลผลิตข้าวโพดในประเทศอยู่ในมือพ่อค้าหมดแล้ว และมาตรการคุมการนำเข้าข้าวสาลีทำให้เกษตรกรขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นการฉวยโอกาสเก็งกำไรจากราคาที่สูงขึ้น 1.50 บาท ถ้าคิดจากส่วนที่เราขาดแคลนอยู่ 2ล้านตัน พ่อค้าจะได้กำไร 3พันล้านบาท" นายพรศิลป์ กล่าว

ทางด้านรายงานจากสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก กล่าวว่า อาหารสัตว์เป็นต้นทุน 60%ของการเลี้ยง ตอนนี้ราคาข้าวโพดสูงขึ้น 20% จากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8 บาท เป็นสูงกว่า 9.50 บาท ในขณะนี้ ทำให้ต้นทุนการสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่หมูเป็นทั้งตัวราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 42-45บาท เท่านั้นและสามารถขายเนื้อได้ 50% ส่วนที่เหลือเป็นการขายซาก

ผู้เลี้ยงสุกรต้องแบกภาระขาดทุนมาต่อเนื่อง 3-4เดือนแล้ว ยังถูกบังคับให้ซื้อข้าวโพดในประเทศเพื่อนำเข้าข้าวสาลีตามมาตรการรัฐในสัดส่วน3:1ทำเราไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะในยุโรปซึ่งมีข้าวสาลีจำนวนมาก

สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นห่วงโซ่การผลิตหลายชนิดตั้งแต่ ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง และข้าวโพด ประเทศไทยมีการนำเอาสินค้าเหล่านี้ไปเชื่อมโยงกับเกษตกรรายย่อย โดยมีภาคปศุสัตว์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อาหารสัตว์และอาหาร ต้องรับภาระจากราคาที่สูงขึ้น

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาราคาวัตถุดิบในประเทศขาดแคลนและมีราคาสูง รัฐบาลจะต้องรอบคอบ หาทางออกให้ดี ให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกัน เพราะสถานการณ์ขณะนี้พ่อค้าได้กำไรสูง ซึ่งเกษตรกรทราบดี ขณะที่ผู้ใช้อาหารสัตว์ต้องยอมซื้อราคาสูงเพราะไม่สามารถนำเข้าได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ