สศอ. เผย MPI 11 เดือนแรกปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.52

พฤหัส ๒๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๐๒
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.23 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันในปีก่อน ส่งสัญญาณการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ น้ำมันพืช และน้ำมันปิโตรเลียม

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 11 เดือนแรกปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.52 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำแท่ง) ขยายตัวถึง ร้อยละ 16.0 รวมถึงการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำแท่ง) ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 11.4 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ น้ำมันพืช และน้ำมันปิโตรเลียม

อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีการขยายตัว ได้แก่

รถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากรถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถปิคอัพที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิตาลี ทำให้การส่งออกรถปิคอัพเพิ่มขึ้น

ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากสินค้ายางแผ่นและยางแท่ง จากการขยายตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงลูกค้าจีนมีปริมาณยางในสต็อกลดลง จึงมีความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น

เครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32 จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากสินค้าเครื่องยนต์ดีเซล โดยเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายในประเทศ ตามคำสั่งซื้อของผู้ผลิตรถยนต์เพื่อรองรับงาน Motor Expo (30 พ.ย.-11 ธ.ค.60) ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย รวมถึงคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากลูกค้าในกลุ่มอาเซียน

น้ำมันพืช ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.52 จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากสินค้าน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากมีผลผลิตปาล์มมากกว่าปกติ ส่งผลให้การผลิตน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นด้วย สอดคล้องกับพื้นที่ปลูกปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 4 แสนไร่ ประกอบกับกระทรวงพลังงานใช้มาตรการปรับสัดส่วนการใช้ไบโอดีเซลเพื่อดูแลราคาปาล์ม จากน้ำมันบี 5 เป็นน้ำมันบี 7 ส่งผลให้การใช้น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากสินค้าน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 เป็นหลัก ตามการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทาง รองมาคือน้ำมันเตาชนิดที่ 5 ซึ่งเน้นผลิตเพื่อการส่งออกโดยได้รับคำสั่งซื้อและส่งมอบในเดือนนี้ สำหรับสินค้าอื่นๆ ที่การผลิตปรับตัวสูงขึ้นได้แก่ แนฟทา น้ำมันเบนซินชนิดต่าง ๆ และน้ำมันเครื่องบิน เพื่อรองรับคำสั่งซื้อและความต้องการใช้ภายในประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ