ปตท. สนับสนุนโครงการชี้แนวทางการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ

อังคาร ๐๙ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๗:๐๓
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ที พี เค เอทานอล จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการชี้ทิศทางและสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีฐานด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมีสำหรับอุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรมเอทานอลและอุตสาหกรรมที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน (CAT-REAC industrial project)"

คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะรัฐวิสาหกิจและบริษัทพลังงานของชาติ มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล "สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)" จึงมีภารกิจในการวิจัย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ ตลอดจนกระบวนการใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย มานานกว่า 20 ปี ในชื่อเดิม "สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท." และเปลี่ยนเป็น "สถาบันนวัตกรรม ปตท." ในวันนี้ โดยได้ดำเนินการวิจัยและทดสอบประเมินประสิทธิภาพตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับให้กับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตท. และบริษัทในกลุ่มนับตั้งแต่ปี 2556 - 2560 สามารถลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาจากต่างประเทศรวมถึงลดความสูญเสียเนื่องจากการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพต่ำได้กว่า 240 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน สถาบันนวัตกรรม ปตท. ยังคงดำเนินการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

"สถาบันนวัตกรรม ปตท. ยินดีให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมถึงทิศทางการวิจัยด้านตัวเร่งปฏิกิริยาในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยจากการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ยืดอายุการใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับ โดยการนำร่องใช้ในอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและอุตสาหกรรมเอทานอล ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ซึ่ง ปตท. ยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบ Open Innovationระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาในครั้งนี้ ให้บรรลุผลสำเร็จเป็นประโยชน์ต่อประเทศ อันจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป" คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025