กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำเทคโนโลยี Color ID Labeling และผ้ายีนส์ สู่ ผปก. ผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติ เพื่อรองรับตลาด Thailand 4.0

พฤหัส ๑๑ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๔:๑๘
วันที่ 11 มกราคม 2561 ณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเทคโนโลยี Color ID Labeling และผ้ายีนส์ เพื่อรองรับตลาด Thailand 4.0 โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และกล่าวต้อนรับโดย นายพรพจน์ บัณฑิตยานุรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้ประกอบการ โอทอปและSMEs ผ้าทอมือจากจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และชัยภูมิ รวมทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด นักการตลาด ดีไซน์เนอร์จากภาคเอกชน ประมาณ 160 คน

นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เข้มแข็งด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้แผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อจะนำองค์ความรู้ด้าน วทน. ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของกรมถ่ายทอดสู่กลุ่มผู้ประกอบการ นำไปประกอบอาชีพและนำไปพัฒนารูปแบบสินค้าของชุมชนให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์จังหวัด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มโอกาสในการตลาดให้กับสินค้าประเภทผ้าไหมของกลุ่มจังหวัดให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และเกิดการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มประชากรยุค Thailand 4.0 เพิ่มมากขึ้น

การดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยี Color ID Labeling และ ผ้ายีนส์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติโดยสร้างฐานข้อมูลในการสอบกลับของแหล่งที่มาของผ้าบนระบบดิจิตอล โดยการให้ค่าสีที่เป็นรหัสสากล สถานที่ กระบวนการและเวลาในการผลิต รวมถึงปริมาณที่ผลิตได้ในแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดเรื่องราวของผืนผ้าที่สามารถส่งต่อไปยังผู้ซื้อในตลาดสากลได้ การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อใช้ Color ID Labeling ในการเพิ่มคุณค่าของผ้าทอของไทยและการผลิตผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นผ้ายีนส์ รวมถึงการออกแบบและเทคนิคด้านการตลาด ให้เหมาะสมกับกลุ่มจังหวัดและผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างเทคโนโลยีการตลาดและผลิตภัณฑ์ ที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ภายในงานสัมมนาฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันในหลายด้านระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ นักการตลาด และดีไซน์เนอร์จากภาคเอกชน อาทิ ด้านการพัฒนาผ้าฝ้ายย้อมครามสู่ผ้ายีนส์ไทย ด้านแนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับการค้าในยุคดิจิตัลและระบบ customer/product matching กิจกรรม Workshop "การพัฒนาแบรนด์ดิ้งของสินค้าทอมือ" เป็นต้น รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการนำผลงานผ้ามาจัดแสดงและจัดจำหน่าย พร้อมขอคำแนะนำเทคนิคการพัฒนารูปแบบในด้านต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของผ้าทอไทยนำไปสู่การสนับสนุนเรื่องท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ