เปิดตำนาน เพลงร้องศิลป์ในประเทศไทยกับผลงาน ดร. สายสุรี จุติกุล

ศุกร์ ๑๒ มกราคม ๒๐๑๘ ๐๙:๒๙
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติร่วมกับสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาขอเชิญเข้าร่วมชมการแสดงคอนเสิร์ตในโครงการวิจัยเรื่อง "เพลงร้องศิลป์ในประเทศไทย : การเรียบเรียงและการแสดงผลงานเพลงร้องของ ดร.สายสุรี จุติกุล" โดย ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง ในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:00 น. ณ ห้องสังคีตวัฒนา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมฟรี

รายการแสดงประกอบด้วย 14 บทประพันธ์เพลงร้องของ ดร.สายสุรี จุติกุล และวรรณกรรมเพลงร้องไทย ประพันธ์โดย ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์ นาวาตรีปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี และอาจารย์ณัฐ ยนตรรักษ์ บรรเลงเปียโนโดย ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง และมรกต เชิดชูงาม ร่วมกับนักไวโอลินรับเชิญ อ.สิทธิชัย เพ็งเจริญ และนักร้องรับเชิญ อ.ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ ผศ.พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร กรวิช เทพหัสดิน มัชฌิมา มีบำรุง และศิโยน ดาวรัตนหงษ์

เพลงร้องศิลป์ (Art Song) เป็นเพลงขับร้องคลาสสิกขนาดสั้น มีที่มาจากชื่อประเภทบทเพลงร้องเยอรมันที่เรียกว่า "Lieder" (ลีเดอร์) โดยทั่วไปจะหมายความถึงลีเดอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับการขับร้องควบคู่ไปกับการบรรเลงเปียโนประกอบ ได้แก่ ลีเดอร์ที่ประพันธ์โดย ฟรานซ์ ชูเบิร์ต โรเบิร์ต ชูมานน์ และ โยฮันเนส บราห์มส์ เป็นต้น บทเพลงเหล่านี้ต้องใช้ทักษะและเทคนิคการขับร้องขั้นสูง คีตกวีจะประพันธ์แนวบรรเลงเปียโนอย่างพิถีพิถันให้สอดคล้องกับคำร้อง บทเพลงลีเดอร์เยอรมันตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คีตกวีคนสำคัญจะประยุกต์แนวคิดวาทศาสตร์และประพันธ์ดนตรีให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทกวีที่คัดสรรมา

เพลงร้องศิลป์เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดังปรากฏว่ามีอาจารย์ชาวไทยได้ประพันธ์เพลงร้องศิลป์ขึ้น ได้แก่ ดร.สายสุรี จุติกุล เพลงร้องศิลป์นี้ถือเป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งแสดงการผสมผสานกันระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีคลาสสิกตะวันตก เช่น การเขียนทำนองในบันไดเสียงห้าเสียงแบบไทยเข้ากับแนวคอร์ดประสานแบบคลาสสิกตะวันตกเพลงเหล่านี้มีคำร้องภาษาไทยที่สละสลวยและสอดคล้องกับแนวทำนองที่ไพเราะ ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องเขียนแนวทำนองเพลงอย่างพิถีพิถันเพื่อให้เข้ากับคำร้องและความหมายของเนื้อเพลง

ผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งได้โดยไม่เสียค่าเข้าชมได้ทางโทรศัพท์ 02-447-8597 (ต่อ 1130) และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pgvim.ac.th สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 2010 อรุณอัมรินทร์ 36 บางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ 10700

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ