กระทรวงเกษตรฯ ชูนโยบายบังคับใช้กฎหมายเพื่อหยุดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าอย่างจริงจัง

ศุกร์ ๑๒ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๕๔
นายสรวิศ ธานีโต โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่สำคัญมาก ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวมากถึง 8 ราย จากการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาส่วนใหญ่ เกิดจากการถูกสัตว์ป่วยทั้งที่ไม่มีเจ้าของและมีเจ้าของกัดหรือข่วน โดยสัตว์ป่วยดังกล่าวไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน และเจ้าของสัตว์มีหน้าที่โดยตรงในการพาสัตว์เลี้ยงของตนไปรับการฉีดวัคซีนทุกปี ส่วนสุนัขหรือแมวที่ไม่มีเจ้าของจะต้องเร่งรัดดำเนินการควบคุมในทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตอีก ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

ด้าน นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สั่งการให้ทุกจุดที่เกิดโรคให้ดำเนินการประกาศเป็นเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 โดยในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค ให้มีการสำรวจจำนวนและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว ฉีดวัคซีนสัตว์สัมผัสหรือสัตว์กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรค กักควบคุมสัตว์ที่สัมผัสหรือมีโอกาสสัมผัสโรคทุกตัวเพื่อเฝ้าระวังทางอาการและป้องกันการแพร่โรคไปสู่คน รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าแก่เจ้าของสัตว์และประชาชน หากพบการกระทำความผิดตามกฎหมายให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าอีกต่อไป

"ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าอย่างเร่งด่วนโดยใช้แนวทางภายใต้กรอบของกฎหมายในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ 10 จังหวัดแรกที่มีการเกิดโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุดในประเทศไทยในปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด สงขลา ชลบุรี บุรีรัมย์ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร ฉะเชิงเทรา และมุกดาหาร ซึ่งจากข้อมูลการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในทุกจังหวัด พบว่ามีผลบวกในสัตว์มีเจ้าของมากกกว่าสัตว์ไม่มีเจ้าของ นั่นแสดงให้เห็นว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงหรือประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจำนวนสุนัขแมวไม่มีเจ้าของในที่สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีผู้นำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยในที่สาธารณะจนเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว"

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์ทางบาดแผลที่ถูกสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคกัดโดยตรงหรือน้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า โดยสัมผัสบริเวณบาดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังหรือเยื่อเมือกบริเวณปาก ตา จมูก ทั้งนี้ สุนัขเมื่อถูกกัดหรือได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะมีระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ 3 – 18 สัปดาห์ และสามารถปล่อยเชื้อไวรัสออกมาในน้ำลายจนกว่าจะตาย ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของโรคในสุนัขขึ้นกับตำแหน่งที่สุนัขได้รับเชื้อโรคเข้าร่างกาย หากได้รับเชื้อตรงบริเวณขาอาจจะมีระยะฟักตัวนานถึง 1-2 ปี แต่ถ้าเป็นบริเวณหัวก็อาจจะ 3 สัปดาห์ ส่วนแมวจะมีระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ย 18 วัน เชื้อไวรัสจะขับออกมาทางน้ำลายในช่วงระยะเวลา 1 วัน ก่อนแสดงอาการ และเชื้อจะอยู่ในน้ำลายจนกว่าสัตว์จะตายเช่นกัน สุนัขและแมวส่วนใหญ่จะตายหลังจากที่แสดงอาการประมาณ 10 วัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version