กยท. แจง โครงการส่งเสริมการใช้ยางฯ นำร่องรับซื้อแล้ว 5 จังหวัด รวม 2,000 ตัน ยัน เปิดราคารับซื้อล่วงหน้า กำหนดราคาอย่างเป็นธรรมเท่ากัน ณ หน้าโรงงานฯ

พุธ ๑๗ มกราคม ๒๐๑๘ ๐๙:๓๓
การยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงการรับซื้อยางโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เบื้องต้นเริ่มนำร่องรับซื้อน้ำยางสด จำนวน 2,000 ตัน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ยืนยัน กยท.ประกาศราคารับซื้อยางล่วงหน้า 1 วัน พร้อมกำหนดราคากลางอย่างเป็นธรรม และรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรฯ ในราคาเท่ากัน ณ โรงงานแปรรูปทุกแห่ง

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายของทางรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและผลักดันราคายางให้เกิดเสถียรภาพ ซึ่ง กยท. ได้เปิดรับสมัครให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจ สำหรับการจัดสรรปริมาณยาง กยท.จะรับซื้อยางตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐที่แจ้งความประสงค์ใช้ยาง ในช่วงนี้จะรับซื้อน้ำยางสดเพียงอย่างเดียวตามความต้องการที่หน่วยงานรัฐแจ้งมา แต่หลังจากนี้จะมีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมเข้ามาเป็นระยะ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้ทำถนนและทำยางปูพื้นสระ เมื่อทราบปริมาณยางที่ต้องการแล้ว กยท.จะจัดสรรไปยังจังหวัด เบื้องต้นจัดสรรให้จังหวัดสงขลา 500 ตัน สตูล 500 ตัน นครศรีธรรมราช 500 ตัน ตรัง 400 ตัน และยะลา 200 ตัน มอบให้สถาบันเกษตรกรในแต่ละจังหวัดจัดสรรกันเอง โดยมองถึงศักยภาพของพื้นที่ จำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความพอใจของทุกฝ่าย

รวมถึงการเลือกโรงงานเพื่อแปรรูปผลผลิตของกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร โดยให้สถาบันเกษตรกรคัดเลือกเอง และ กยท.จะประสานความร่วมมือให้ ซึ่งเบื้องต้นใช้โรงงานของ กยท. ก่อน ถ้าโรงงาน กยท. มีกำลังการผลิตไม่พอ จะติดต่อสถาบันเกษตรกรที่มีโรงงานผลิตน้ำยางข้น ผู้ประกอบการเอกชน ตามลำดับ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ประชุมของสถาบันเกษตรกรได้มีมติเลือกโรงงานแปรรูปน้ำยางสดเป็นน้ำยางข้นโดยใช้โรงงานของ กยท. ซึ่งตั้งอยู่ อ.กรุงหยัน จ.นครศรีธรรมราช

นายสุนันท์ กล่าวต่อว่า กยท. มีหลักเกณฑ์การกำหนดราคาผ่านคณะกรรมการกำหนดราคา ซึ่งมีตัวแทนเกษตรกรร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยใช้หลักในการนำเอาราคาเฉลี่ยของตลาดเป็นฐานในการกำหนดราคากลางรับซื้อยางในวันถัดไป และประกาศให้สถาบันเกษตรกรทราบล่วงหน้าก่อน 1 วัน ทั้งนี้ กยท. จะเปิดราคารับซื้อราคาเดียวกัน ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ณ โรงงานแปรรูป ส่วนสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จะนำเอาราคาที่ กยท. ประกาศเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการรวบรวมผลผลิตยางจากเกษตรกร และแจ้งราคารับซื้อให้กับเกษตรกรชาวสวนยางภายในแต่ละกลุ่มเอง

"กยท. ต้องการให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในกระบวนการรับซื้อครั้งนี้ จึงให้เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งเป็นของเกษตรกร ต้องทำเพื่อเกษตรกร โดยเกษตรกร ดังนั้น การกำหนดราคารับซื้อของสถาบันเกษตรกร จะคำนึงถึงการช่วยเหลือ และประโยชน์ที่จะเกิดกับเกษตรกรายย่อยในพื้นที่ของตัวเองให้มากที่สุด"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO