สำหรับกองทุน ?LTF ทั้ง 3 กองทุนดังกล่าวสามารถสร้างผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยกองทุนที่มีผลงานที่โดดเด่น คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวทาร์เก็ต (SCBLTT) มีผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 17.16% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 20.59% สามารถเอาชนะเกณฑ์มาตรฐานดัชนี SET TRI ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 12.66% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่17.30% (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ธ.ค.60) ซึ่งการจ่ายปันผลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 16 รวมเป็นเงินปันผลจำนวน 3.9600 บาทต่อหน่วย เน้นลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มั่นคง และมีแนวโน้มเจริญเติบโตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวอินเตอร์ (SCBLT4) มีผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 15.53% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 18.65% สามารถเอาชนะเกณฑ์มาตรฐานดัชนี SET TRI ที่มีผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 12.66% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 17.30% (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ธ.ค.60) โดยการจ่ายปันผลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 13 รวมเป็นเงินปันผลจำนวน 2.9200 บาทต่อหน่วย เน้นลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มั่นคง และมีแนวโน้มเจริญเติบโตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม และมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ ไม่เกินกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม
และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (SCBLT1) มีผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่12.97% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 15.47% เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานดัชนี SET TRI ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 12.66% และย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 17.30% (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ธ.ค.60) โดยการจ่ายปันผลครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 21 รวมเป็นเงินปันผลจำนวน 4.8750 บาทต่อหน่วย เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายปันผลอยางสม่ำเสมอ เฉลี่ยในปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม
นายสมิทธ์ กล่าวว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ มองว่าภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในปี 2561 ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยบวกทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ โดยเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกและตัวเลขนักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนที่จะได้ปัจจัยบวกจากนโยบายภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย และการฟื้นตัวภาคเอกชนจากนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) ในธุรกิจใหม่ๆ อย่างจริงจัง เหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วง 2 - 3 ปีข้างหน้าอีกทางหนึ่ง โดยคาดว่าหุ้นไทยในปี 2561 มีโอกาสปรับตัวขึ้นไปอยู่ระดับ 1,830-1,900 จุด
สำหรับปัจจัยที่จำเป็นต้องติดตามส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งอัตราและจังหวะเวลาการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา การเร่งตัวของการลดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป และเศรษฐกิจจีนว่าจะยังมีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องได้ดังคาดหรือไม่ โดยปัจจุบันความเสี่ยงดังกล่าวเป็นที่รับรู้ไปมากแล้ว จึงจัดเป็นระดับความเสี่ยงที่ไม่สูงนัก หุ้นจึงยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนอยู่ต่อไป แต่อย่างไรก็ตามอาจมีความเสี่ยงที่สร้างความผันผวนได้เป็นระยะสั้นๆ บ้าง เช่น ปัญหาการเมืองและความไม่สงบในตะวันออกกลาง ปัญหาความขัดแย้งเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เป็นต้น
"เนื่องจากหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามความคาดหวังที่เศรษฐกิจไทยจะมีการเติบโตในระดับค่อนข้างสูงไปในระดับหนึ่งแล้ว จึงมีโอกาสที่หุ้นไทยจะมีการพักตัวบ้างเป็นระยะสั้นๆ หรือในบางช่วงอาจมีจังหวะที่หุ้นไทยปรับตัวลงเป็นจากข้อมูลที่ออกมาต่ำกว่าคาด แนะนำให้ใช้จังหวะพักตัวนี้สะสมหุ้นเพิ่มเติม" นายสมิทธ์ กล่าว