เกษตรฯ เร่งหารือแผนบูรณาการพัฒนาการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือ นำร่องพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิดใน 5 จังหวัด

ศุกร์ ๑๙ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๕๔
นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือ นำร่อง 5 พืช 6 จังหวัด ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นเจ้าภาพบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษา เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและมติ ครม. ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้แทนจาก 6 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เพชรบูรณ์ ตาก พิษณุโลก ประธานสภาอุตสาหกรรม 5 จังหวัด ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้เชี่ยวชาญพืชส่งออกและผู้ส่งออก รวมถึงประธานและผู้นำกลุ่มเกษตรกร ที่สนใจเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ เข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาหาแนวทางร่วมกันในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด โดยเน้น การรวบรวมแผนงานโครงการเดิมที่มีอยู่ของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งการเพิ่มเติมส่วนที่ขาดเพื่อบูรณาการไปสู่เป้าหมายโครงการเดียวกัน ทั้งในเรื่องแผนงานการส่งเสริมการผลิตของเกษตรกร งานวิจัยและพัฒนา และงบประมาณ เพื่อนำมาหารือในรายละเอียดร่วมกันในระดับจังหวัด เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือ ถือเป็นการขยายผลจากตากโมเดลที่เป็นการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดด้านการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ทำให้เกิดกระบวนการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการค้าที่ปลอดภัย ภายใต้แนวคิด "ขายได้แล้วจึงมีการผลิต มิใช่ผลิตแล้วจึงนำมาขาย" ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบที่เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ เป็นการยกระดับชีวิตของเกษตรกร โดยสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้การดำเนินงานในเรื่องเกษตรปลอดภัยและการยกระดับคุณภาพสินค้าด้านต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลาย รวมทั้งมีการพัฒนาการเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์ให้รักษาคุณภาพและมีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่ถือว่าเป็นการพัฒนาตลอดห่วงโซ่ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในลักษณะประชารัฐที่ภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา โดยนำร่องในพืชที่มีศักยภาพทางการตลาด 5 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมทอง สับปะรด มะม่วงน้ำดอกไม้ ขิง กระเจี๊ยบเขียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๑ OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
๑๖:๒๒ เทลสกอร์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนโครงการ 'Help You, Help Me' สู่ปีที่ 6 ผสานพลังคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม
๑๖:๐๐ เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว สนับสนุนภารกิจกู้ภัย มอบอาหารและเครื่องดื่มให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
๑๖:๐๐ ร้อนๆแบบนี้ มาหมุนให้ฉ่ำ!!สนุกสุดมันส์ไปกับเครื่องเล่น Water Roller ลูกบอลน้ำมหาสนุก
๑๖:๕๒ ซัมเมอร์นี้ชวนเช็กอินสมุย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวเวลเนส ที่ BDMS Wellness Clinic สาขา Celes Samui
๑๖:๑๑ โซเชียลจับตา ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
๑๕:๐๐ กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
๑๕:๐๐ GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการบิวตี้ครบวงจรอันดับ 1 ในไทยเปิดตัวบริการ GoWabi POS พร้อมประกาศรางวัล GoWabi Top Rated
๑๕:๐๓ ทีทีบี เชิญชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์ครุฑ สืบสานพลังศรัทธา สรงน้ำ สมเด็จมหาราชทรงครุฑ เสริมพลังบุญรับปีใหม่ไทย
๑๕:๕๑ บัตรเครดิต ทีทีบี มอบโปรฯ ฟรีอัปเกรด! HUT บุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น จ่ายเพียง 399 บาท