พบนกสายพันธุ์ใหม่ในป่าที่กำลังถูกคุกคามของอินโดนีเซียตะวันออก

จันทร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๗:๒๗
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่กรุงจาการ์ต้า ผู้ประสานงานรณรงค์ของกรีนพีซ เบลเยียม และนักปักษีวิทยา พร้อมด้วยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ และสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบนกสายพันธุ์ใหม่ที่พบบนเกาะโรเต ในอินโดนีเซีย

โรเต มิซโซเมลา (Myzomela irianawidodoae) อยู่ในวงศ์กินน้ำผึ้ง มีสีสันสวยงาม และตั้งชื่อให้ตามชื่อของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอินโดนีเซีย คือ นางอิเรียนา โจโก วิโดโด การค้นพบของทีมสำรวจครั้งนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ของอินโดนีเซียชื่อ ตรีอูเบีย เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2560 [1]

"อินโดนีเซียมีสายพันธุ์นกมากกว่า 1,500 สายพันธุ์ และจะสำรวจพบนกสายพันธุ์ใหม่ทุกปี ในอดีตนักดูนกแทบไม่เคยได้ไปเยือนเกาะโรเต เนื่องจากไม่มีนกประจำถิ่นที่เป็นที่รู้จักอาศัยอยู่" ฟิลิปป์ เวอร์บีเลน ผู้ประสานงานรณรงค์ของกรีนพีซกล่าว ฟิลิปป์ทำงานสำรวจอยู่บนเกาะโรต จนกระทั่งพบนกสายพันธุ์ใหม่นี้

"นกแต่ละสายพันธุ์ส่วนใหญ่จะมีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพันธุ์ แต่ทุกปีมีนกสายพันธุ์ใหม่เพียงบางส่วนที่ถูกค้นพบ ดังนั้นการจำแนกด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องจึงถือเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ให้กับนักดูนก" เวอร์บีเลน กล่าว

ผืนป่าในอินโดนีเซียถูกคุกคามจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม [2] ภูมิประเทศบนเกาะโรเตก็ไม่ถูกละเว้น ถิ่นอาศัยของสายพันธุ์กินน้ำผึ้งชนิดใหม่นี้จึงตกอยู่ในความเสี่ยงและสมควรได้รับการปกป้อง

"ผมหวังว่า การค้นพบนกพันธุ์ใหม่นี้จะช่วยให้ผู้คนได้ตระหนักถึงวิกฤตป่าไม้ ไม่เพียงแต่นกอย่างเช่นนกกินน้ำผึ้งชนิดใหม่นี้เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงเสือ อูรังอูตัง และสัตว์ป่าอื่นๆที่ยังไม่ถูกเก็บข้อมูล ผู้มีอำนาจหน้าที่ในรัฐบาลจึงควรบันทึกและพยายามอย่างเต็มที่ในการปกป้องและอนุรักษ์เกาะโรเต รวมทั้งผืนป่าอื่นๆที่ยังหลงเหลืออยู่ในอินโดนีเซีย" เวอร์บีเลน กล่าว

เมื่อปี 2552 หรือเกือบ 20 ปีหลังจาก รอน จอห์นสโตน นักปักษีวิทยาชาวออสเตรเลีย สังเกตเห็นนกเป็นครั้งแรก เวอร์บีเลนไปที่เกาะโรเตตามแผนปฏิบัติการของโครงการที่ขยายรวมไปถึงศึกษาการเปล่งเสียงของนกฮูกในอินโดนีเซีย

เขาถ่ายรูปนกมิซโซเมลา ที่พบบนเกาะและบันทึกทั้งเสียงร้องและเสียงเรียกของมันไว้ เขาตระหนักว่าเสียงร้องของมันแตกต่างอย่างชัดเจนจากนกมิซโซเมลาบนเกาะอื่นๆใกล้ๆกันของอินโดนีเซียและที่ออสเตรเลีย [3]

เวอร์บีเลนกลับไปอินโดนีเซียเมื่อปี 2557 เพื่อทำงานภาคสนามต่อที่เกาะโรเตและซัมบา เขาบันทึกเสียงนกหลายชนิดบนเกาะเพื่อตรวจสอบข้อสันนิษฐานที่ว่า แม้จะมีรูปลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกัน แต่นกที่พบบนเกาะโรเตอาจเป็นนกสายพันธุ์ใหม่

นกสายพันธุ์ใหม่จึงได้รับการบันทึกอย่างถูกต้องทางวิทยาศาสตร์โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์และสถาบันวิทยาศาสตร์ของอินโดนีเซีย (LIPI) ซึ่งเคยเดินทางไปที่เกาะโรเตเมื่อเดือนธันวาคม 2558

หมายเหตุ:

[1] http://e-journal.biologi.lipi.go.id/index.php/treubia/index (ลิงค์รายงานฉบับเต็ม HERE)

[2] 'The palm oil industry promises reform, but there's still no sign of change' อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซียให้คำมั่นจะปฏิรูป แต่ยังไม่มีสัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลง

[3] Myzomela dammermani – (Sumba Myzomela) and Myzomela vulnerata (Timor Myzomela) และมิซโซเมลาหัวแดง (Myzomela erythrocephala) มีถิ่นอาศัยในออสเตรเลีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ