EF Guideline เครื่องมือช่วยครูปฐมวัย นำสมองเด็กไทย สู่ศตวรรษที่ 21

อังคาร ๒๓ มกราคม ๒๐๑๘ ๐๙:๒๕
3 หน่วยงานพันธมิตรภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ร่วมกันแถลงผลงานวิจัย การนำ EF Guideline ในกลุ่มครูปฐมวัยพบว่าได้ผลเป็นที่พอใจ สามารถช่วยครูปฐมวัย ในการพัฒนาทักษะสมองเด็กไทย เข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ได้ตามคาด

นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะผู้จัดการโครงการ "การพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะสมองเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนในประเทศไทย" กล่าวว่า การที่เด็กไทย "คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น" นั่นหมายถึงการมีทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ หรือ Executive Functions (EF) อย่างไรก็ตาม ครูปฐมวัยก็ต้องเปลี่ยนมุมมองและวิธีจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Active Learning ,ผู้บริหารโรงเรียนต้องเปลี่ยนความเข้าใจต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมองต่องานของครูปฐมวัย หันมาให้การสนับสนุนครูปฐมวัยอย่างเต็มที่ ,พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ต้องเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ต่อเป้าหมายด้านการศึกษาของลูกหลาน รวมถึงกระบวนการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก,ระดับนโยบายของประเทศต้องเปลี่ยนความคิดความเข้าใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ถูกทิศทาง ไม่ตามกระแสค่านิยมที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า EF Guideline ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็น "เพื่อน คู่ คิด" ของครูปฐมวัย ใช้ประโยชน์ได้ 2 ทาง คือ ใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์กิจกรรมในแผนการจัดประสบการณ์เดิม และใช้เป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้องค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นตัวนำทาง ภายใต้ จุดประสงค์หลักสามอย่างคือ เป้าหมาย ,กระบวนการ และ การประเมิน สำคัญคือ

1.เป้าหมาย คือ การให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายการสอนที่ชัดเจน ว่าจะนำไปสู่เป้าหมายใด เจตคติ ความรู้ หรือทักษะใด มุ่งพัฒนาทักษะสมอง EF ด้านใด รวมทั้งการกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถประเมินได้

2.กระบวนการ คือ การให้ความสำคัญกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับเป้าหมาย เป็นลำดับขั้นตอน และครูเห็นได้ว่าในแต่ละขั้นตอนนั้น จะส่งเสริมทักษะสมอง EF ด้านใดบ้าง รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการทำงานของทักษะสมอง EF

3.การประเมิน คือ การให้ความสำคัญกับการทบทวนโอกาสในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม รวมถึงการทบทวนขั้นตอน และกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่คาดหวัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพในครั้งต่อไป

จากผลงานวิจัยครั้งนี้พบว่า เด็กกลุ่มทดลองที่ครูนำ EF Guideline ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียน ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีคะแนนเฉลี่ยทักษะสมอง EF มากกว่าค่า Norm ของเด็กไทยในทุกภูมิภาค โดยมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยถึงการนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ระบุว่า

1.การเขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยการใช้ EF Guideline คุณครูต้องดำเนินการอย่างทุ่มเทและต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการพัฒนาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของครู

2.การส่งเสริมการใช้ EF Guideline ให้กับคุณครูระดับปฐมวัย โดยการปรับให้มีความสอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมของโรงเรียน

3.การจัดอบรมการใช้ EF Guideline ให้กับคุณครูที่มีความสนใจในระดับช่วงชั้นอื่น เพื่อขยายองค์ความรู้ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งจัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ EF Guideline เพื่อพัฒนาการใช้ EF Guideline ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ