ดันโชห่วย สู่ร้านค้าประชารัฐไฮบริด ปูทางผู้ประกอบการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ

อังคาร ๒๓ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๔:๔๓
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ผนึกกำลัง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ พร้อมทั้งนำสินค้าเข้าสู่ร้านค้าประชารัฐไฮบริดปูทางผู้ประกอบการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อความมั่นคง และมีรายได้ที่ยั่งยืน

เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และนางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (พค.) ได้ลงนามร่วมกัน ในการประสานผ่านองค์ความรู้ สู่การยกระดับร้านค้าประชารัฐทั่วประเทศให้เป็นร้านค้าประชารัฐไฮบริด โดยมี ฯพณฯสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ในงาน "สร้างเศรฐกิจชุมชน รวมพลคนรากฐาน" ที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดขึ้น จากการสนับสนุนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กล่าวว่า การจัดงานสร้างเศรษฐกิจชุมชน รวมพลคนฐานราก ครั้งนี้ เพื่อผลักดันและกระตุ้นให้ร้านค้าประชารัฐจำนวนกว่า 2หมื่นร้าน ค้าทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญผ่านคลินิกธุรกิจเพื่อเรียนรู้ แนวทางการสร้างตลาด และรายได้ที่มั่นคงแก่ชุมชน พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นด้านราคาและคุณภาพสินค้าให้กับผู้บริโภค

"ที่ผ่านมาชาวบ้านจะกังวลเรื่องของภาษี การจดทะเบียนร้านค้า ซึ่งทางเราได้มีการจัดอบรมให้ความรู้ร้านค้าต้นแบบในการพัฒนาสินค้า และการตลาดออนไลน์ เพื่อทำเป็นระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกันทั้งในเรื่องของการต่อรองราคากาสต็อกสินค้า และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ในอนาคตจะทำให้บัตรใบเดียวใช้ได้ทุกร้านค้าทั่วประเทศ ร้านค้าเองจะมีต้นทุนที่ถูกลงนอกจากนี้จะส่งเสริมให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนมากขึ้นด้วย "รศ.นที กล่าว

นายสมชาย พรรัตนเจริญ เจ้าของร้านค้าประชารัฐต้นแบบ กล่าวว่า ร้านค้าประชารัฐนอกจากประชาชนจะได้เลือกซื้อสินค้าราคาประหยัดและมีคุณภาพแล้ว ยังช่วยกระจายสินค้าของชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากร้านจะคัดเลือกสินค้าชุมชนทั่วประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีความต่อเนื่องเข้ามาขาย ในร้าน เพื่อช่วยให้ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยชุมชนที่สนใจนำผลิตภัณฑ์มาวางจำหน่ายสามารถติดต่อร้านค้าประชารัฐได้ทุกแห่ง แต่ต้องมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพโดดเด่น ซึ่งทางร้านจะช่วยทำตลาดให้

ขณะที่นายสิริเชษฐ จิรพงษ์วัฒนะ เจ้าของแบรนด์ ชิมมะฟรุตผลไม้อบแห้ง กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นเมืองผลไม้อยู่แล้วโดยเฉพาะ มะม่วงกับทุเรียน เป็นที่ชื่นชอบของคนจีนมาก จึงได้คิดทำอบแห้งน้ำกะทิ โดยในห่อจะมีผลไม้อบแห้งกับกะทิผง เวลารับประทานสามารถละลายน้ำจิ้มทานได้เลย รสชาติจะคล้ายทุเรียนน้ำกะทิ ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี นอกจากนี้ ยังมีเมนูถั่วซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เรามองว่าถั่วมีประโยชน์ มีโปรตีนสูง จึงได้ทำเป็นถั่วอบแห้งไม่ผสมเกลือ แต่คงรสชาติถั่วดั้งเดิมเนื่องจากเราอยากให้คนกินถั่วเพื่อสุขภาพโดยจะเน้นขายในประเทศ สำหรับการจัดบูทในงานสร้างเศรษฐกิจชุมชน รวมพลคนฐานรากเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งของเราสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ต่อจากนี้จะประสานกรมการค้าระหว่างประเทศเพื่อออกบูทในต่างประเทศด้วย เพื่อให้ต่างชาติรู้จักกับผลไม้ไทยมากขึ้น

ด้านนางพรทิพย์ พุ่มสำเนียง สมาชิกกองทุนหมู่บ้านกระแซง อ.เมือง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า เป็นสมาชิกกองทุนมาเป็น 6-7 ปีแล้ว สินค้าหลักของกลุ่มจะเป็นผลไม้ตามฤดูกาล มีทุเรียน มังคุด ลองกอง รางสาด หน้าหนาวก็จะเป็น สตอเบอรี่ ไรท์เบอรรี่ อโวกาโด เสาวรส ก่อนที่จะเข้ามาร่วมออกร้านค้าในงานแบบนี้ เรามีรายได้แค่วันละพันสองพันบาท พอเข้าร่วมแล้วเราทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นวันละเป็นหมื่น ออกขายนอกพื้นที่ทำให้เราขยายตลาดได้มากขึ้น ลูกค้ารู้จักมากขึ้น บางรายโทรตามเพื่อซื้อสินค้า อย่างมาเปิดร้านที่คลองผดุงก็ได้ลูกค้ามากขึ้น ขายดีมาก เราเป็นกลุ่มที่มีชาวสวนเป็นสมาชิกเยอะ เราก็รับซื้อจากสมาชิกของเรามาขาย เดือนหนึ่งออกร้านแบบนี้สัก 4-5 วัน ก็ทำให้มีรายได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แล้วเรายังได้ช่วยเพื่อนๆสมาชิกของเราด้วย รายได้ต่อเดือนหักค่าใช้จ่ายก็เยอะกว่าเดิมมาก อยากให้มีการจัดงานได้แบบนี้เรื่อยๆ เพราะไม่ได้แค่เรายังช่วยสมาชิกกองทุนหมู่บ้านคนอื่นด้วย เพราะเพื่อนสมาชิกกองทุนบางรายมีสินค้าจำนวนน้อยก็ไม่พอมาออกร้านก็เอามาให้เราช่วยขายต่อเป็นการช่วยเหลือกันอีกทางหนึ่ง

ส่วนนางสาวพิชญภัสสร์ ปลื้มภรมย์ เจ้าของร้านกาแฟข้าวกล้องงอก จ.ราชบุรี กล่าวว่า เริ่มต้นจากการขายข้าวออร์แกนิก โดยเฉพาะข้าวเพาะงอก หรือข้าวฮาง มีประโยชน์สูงมาก แต่คนไม่นิยมบริโภคประกอบกับกระแสกาแฟกำลังได้รับความนิยม จึงได้ลองคิดค้นบดข้าวกล้องงอกผสมในเครื่องดื่มประเภทกาแฟเพื่อเป็นเมนูทางเลือกให้กับลูกค้าที่ดูแลสุขภาพ แต่ก็ชอบกินกาแฟ และใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล โดยเปิดตัวครั้งแรกด้วยการออกบูทตามโรงพยาบาล ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ดื่มก็จะบอกว่า รสชาติดีดื่มง่าย จากนั้นก็นำมาผสมกับเครื่องดื่มตัวอื่นๆ ด้วย ผลตอบรับดีเกินคาด ในอนาคตอยากเปิดเป็นร้านกาแฟเพื่อสุขภาพต้นแบบในลักษณะคาเฟ่มีอาหารเครื่องดื่มบริการพร้อม ซึ่งการมาออกร้านที่งานสร้างเศรษฐกิจชุมชน รวมพลคนฐานรากนี้ อยากให้คนรู้จักกาแฟข้าวกล้องงอกให้มากขึ้น และอยากให้มีการกระจายวัตถุดิบไป สู่ร้านกาแฟอื่นๆ เพื่อให้คนไทยได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์สุขภาพไปงานร้านในต่างประเทศเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ