โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 89.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 87.0 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบยอด คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
โดยในเดือนธันวาคม พบว่า อุปสงค์ของสินค้าอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณที่ดี สะท้อนจากยอด คำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2017 รวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับของขวัญของฝาก ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะเดียวกันการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ผู้ประกอบการเห็นว่าจะส่ง ผลดีต่อการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับภูมิภาค ฉุดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ อีกทั้งความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะของผู้ประกอบการ SMEs
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.0 ในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2561 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขณะเดียวกันการส่งออกของไทยยังได้รับผลดีจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในประเทศยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนธันวาคม จากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของทุกขนาดอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 2)
อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 73.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 70.7 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, อุตสาหกรรมแก้วและกระจก, หัตถอุตสาหกรรม เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 96.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 95.8 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์,อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมรองเท้า เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ103.7 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 102.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.7 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิตต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, อุตสาหกรรมอลูมิเนียม, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ106.3 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนธันวาคม 2560 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน โดยมีรายละเอียดมีดังนี้ (ตารางที่ 6)
ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 90.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมพลาสติก (ผลิตภัณฑ์พลาสติก ประเภทถุงพลาสติกและฟิล์มพลาสติกถนอมอาหาร สินค้าประเภทพีวีซีพลาสติกคอมปาวด์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น, สหรัฐฯ และจีน)
อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มน้ำหวานและแอลกอฮอลล์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น จากความต้องการบริโภคสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะที่อุปสงค์ในตลาดโลกขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกอาหารสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแปรรูป เครื่องปรุงรส มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่น)
อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์นั่ง รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และได้รับผลดีจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โปร์ 2017 ขณะเดียวกันค่ายรถยนต์มีการออกรถยนต์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง)
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง (ผลิตภัณฑ์หนังเทียมพีวีซี สินค้าประเภทกระเป๋าหนังและรองเท้าหนัง มียอดสั่งซื้อในประเทศลดลง ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์หนังฟอก มียอดคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศเวียดนาม จีน และฮ่องกง เนื่องจากประเทศคู่ค้าได้เร่งคำสั่งซื้อไปในช่วงเดือนก่อนหน้า)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.1 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 83.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 80.8 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเสื้อกันหนาว มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าประเภทเสื้อกันหนาว เสื้อผ้าแจ็คเก็ต มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
หัตถอุตสาหกรรม (สินค้าหัตถกรรม ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องเคลือบและของที่ระลึก มียอดขายประเทศเพิ่มขึ้นจากเทศกาลปีใหม่ และเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว)
อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษทิชชู่ กระดาษอนามัย มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์กระดาษสา, กระดาษคราฟต์ ส่งออกไปตลาดจีน และเวียดนามเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกสินค้าในปริมาณสูงทำให้ชะลอคำสั่งซื้อ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นและบุผนังมีคำสั่งซื้อลดลงจากจีน และตลาด CLMV)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 99.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 84.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 81.9 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมสิ่งทอ (สินค้าประเภทเส้นด้าย เส้นใยสิ่งทอและผ้าผืน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้านการส่งออกเส้นใยสิ่งทอ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความต้องการนำไปผลิตเสื้อผ้ากีฬาและเสื้อผ้าสำเร็จรูป)
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภท Semiconductor, Monolithic IC และ HDD เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ขณะที่สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (เครื่องปรับอากาศ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงปลายปี ด้านการส่งออกคอมเพรสเซอร์ และชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (สินค้าอุปกรณ์การเกษตร เครื่องนวดข้าว ชิ้นส่วนรถไถ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร มียอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 98.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 102.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทอะไหล่และล้อยาง รวมถึงวิทยุติดรถยนต์และอุปกรณ์เสริม เพิ่มขึ้นจากตลาดเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ)
อุตสาหกรรมเหล็ก (สินค้าประเภทเหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดร้อน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น จากภาคการก่อสร้างและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งออกเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดอาเซียน)
อุตสาหกรรมเคมี (ผลิตภัณฑ์สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม น้ำยาทำความสะอาด มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางและยา มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 106.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 82.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 83.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (การผลิตน้ำมันปาล์มดิบมีปริมาณลดลง เนื่องจากโรงกลั่นมีสต๊อกน้ำมันในปริมาณสูง ขณะที่น้ำมันปาล์มขวดมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง)
อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (เครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศเวียดนาม สหรัฐฯ และญี่ปุ่นลดลง)
อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บาง และวัสดุแผ่น (ไม้อัด ไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด ไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อจากตะวันออกกลางลดลง)
อุตสาหกรรมอาหาร (ผู้ประกอบการมีปัญหาต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงขึ้น วัตถุดิบไม่เพียงพอ รวมทั้งการผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า)
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางล้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ยาง ถุงมือยางทางการแพทย์ ถุงยางอนามัย มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 103.1 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนธันวาคม 2560 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 7)
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 82.9 ในเดือนธันวาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม,อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ100.8 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 100.7 ปรับตัวลดลง จากระดับ 101.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีฯ ยังมีค่าเกินระดับ 100
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ,อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ, อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 107.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.5 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ
ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนธันวาคม
1. ออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถใน
การแข่งขันของผู้ประกอบการ
2. กำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อช่วยลดต้นทุน
3. เร่งแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เพื่อสร้างกำลังซื้อเศรษฐกิจฐานราก
4. เร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน
5. กำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าจากจีนเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ