โดย "ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์" เล่าว่า "ทุกวันนี้ทะเลบ้านเรายังทรงๆทรุดๆ พวกปะการังที่สมบูรณ์เหลืออยู่น้อยกว่าป่าถึง 4 เท่า ยอดนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวทะเล ปี พ.ศ.2560 อยู่ที่ 70ล้านคน ซึ่งเป็นการเสื่อมโทรมการจากถูกใช้งาน เพราะนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำให้เสียหายถึง 77% ประเด็นหลักที่ทำให้ทะเลเสียหายเลยคือ การทิ้งขยะลงท้องทะเล คนไทยปล่อยขยะลงทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และสิ่งที่สำคัญที่ทำลายสภาพแวดล้อมที่สุดเลย คือ พลาสติก คนไทยใช้พลาสติกเยอะมาก เฉลี่ย 8 ถุงต่อวัน ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์คือตัวทำลายสิ่งแวดล้อม คนทั่วไปมักเข้าใจว่าการขุดเจาะแท่นน้ำมันหรือแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติกลางทะเล จะสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในทะเล ซึ่งจริงๆ แล้วแท่นผลิตไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเขาให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบ ที่อิงมาตรฐานระดับโลก เช่น มีเซ็นเซอร์ตรวจจับความปลอดภัย การรั่วไหลของสารเคมีไวไฟ มีมาตรฐาน API , NFPA ซึ่งเป็นมาตรฐานโลกที่มีการยอมรับระดับโลก มีการควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำจากการบวนการผลิตออกสู่ทะเล นอกจากนี้แท่นผลิต ที่อยู่ในทะเลมันก็ให้ปะการังไปเกาะ มีปลา เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล ช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของท้องทะเลด้วยซ้ำ"
ในการใช้แท่นขุดเจาะให้ปะการังและสัตว์น้ำอาศัยอยู่นั้น "คุณกิตติธัช มูลศาสตร์" ผู้จัดการแท่นผลิตบงกชใต้ ปตท.สผ. ได้กล่าวว่า "แท่นขุดเจาะนี้ไม่อันตราย เพราะปตท.สผ. มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยจิตสำนึกรักต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่กระทบต่อธรรมชาติ เราใส่ใจตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และควบคุมสิ่งต่างๆไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อมภายนอก ผมทำงาน ปตท.สผ. มา 15 ปี ทะเลเปรียบเสมือนบ้านไปแล้ว ชีวิตการทำงานอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่ ที่คนส่วนใหญ่มองว่าการขุดเจาะจะทำให้ปล่อยของเสียลงสู่ทะเลมากขึ้น ในกรณีนี้ทางเรามีการควบคุมกระบวนการอยู่ไม่มีการรั่วไหลของเสียออกจากแท่นผลิตแน่นอน"
ติดตามชมเรื่องราวของทะเล อนาคตของคนไทย กับ "ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์" และ "คุณกิตติธัช มูลศาสตร์" ได้ใน รายการ "เจาะใจ" คืนวันเสาร์ ที่ 27 มกราคม เวลา 21.00 น. ทางช่อง 9 MCOT HD