ไทยออยล์ฉลองความสำเร็จในการปรับโครงสร้างเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในกลุ่ม

พฤหัส ๒๕ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๐๐
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดย คุณบัณฑิต ธรรมประจำจิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านการกลั่นและปิโตรเคมี (ที่ 3 จากขวา) และคุณภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการเงินและบัญชี (ที่ 3 จากซ้าย ) จัดพิธีฉลองความสำเร็จในการที่ บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด (TOP SPP) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ โดยไทยออยล์ถือหุ้น 100% ได้ทำการีไฟแนนซ์ เงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในกลุ่ม (Inter-Company Loan) ที่ได้กู้ยืมจาก บมจ.ไทยออยล์ ในวงเงิน 8,500 ล้านบาท ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รวมทั้งขอบคุณสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งและทีมงาน ที่ให้การสนับสนุน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มไทยออยล์เข้าร่วมงานในครั้งนี้ พิธีฉลองความสำเร็จดังกล่าวจัดขึ้นที่ ห้องอาหาร CHAR โรงแรมอินดีโก กรุงเทพฯ

โครงการเงินกู้ร่วมแบบมีหลักประกันแก่บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ของ TOP SPP ให้สอดคล้องกับโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้า และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดหาเงินกู้และต้นทุนการกู้ยืมหลังจากที่ TOP SPP ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้วเสร็จ ทำให้ภาพรวมความเสี่ยงโครงการลดลง โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านการก่อสร้าง โดยการเจรจาสัญญาเงินกู้ รวมถึงกระบวนการร่างสัญญาในครั้งนี้ สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน (มิย.-กย. 2560) นอกจากนั้นการรีไฟแนนซ์ในครั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนให้กับกลุ่มไทยออยล์ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการต่างๆ ในอนาคต

อนึ่ง โครงการเงินกู้ร่วมแบบมีหลักประกันแก่ บจ.ท็อป เอสพีพี ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเงินกู้ประเภทProject Finance วงเงินรวม 8,500 ล้านบาท อายุ 19 ปี ส่วนที่ 2 เป็นเงินกู้ประเภท Revolving Working Capital วงเงินรวม 1,400 ล้านบาท ซึ่งบจ.ท็อป เอสพีพี ได้ลงนามในสัญญาสินเชื่อ (Facility Agreement) กับ 4 สถาบันการเงิน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY), บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (SMBC) และบมจ.ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) เป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 29 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา

ไทยออยล์เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายน้ำมันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยมีธุรกิจหลักคือ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน

นอกจากนี้ ไทยออยล์มีระบบการบริหารจัดการที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Operational Excellence) โดยบริหารงานเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน โดยร่วมวางแผนการผลิตก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำ ขณะเดียวกันมีคุณภาพสูงในระดับโรงกลั่นชั้นนำ (Top quartile) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ได้เปรียบเชิงต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนั้น ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลากหลาย เช่น ธุรกิจไฟฟ้า ธุรกิจสารทำละลาย ธุรกิจบริหารการขนส่งทางเรือและทางท่อ ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจผลิตสารตั้งต้นสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาด ธุรกิจบริการจัดเก็บน้ำมันดิบ น้ำมันปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และธุรกิจให้บริการด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรสำหรับกลุ่มไทยออยล์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ