รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2560

จันทร์ ๒๙ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๔
"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค นำโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"

นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2560 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจในภาพรวม นำโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนเอกชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุ ปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 10.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.7 ต่อปี ตามการขยายตัวในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสระแก้ว และชลบุรี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 30.4 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 51.6 ต่อปี เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 4,276 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 101.5 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดระยอง และชลบุรี เป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 7,262 ล้านบาท ตามการลงทุนในจังหวัดสระแก้วและชลบุรี สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.7 และ 18.0 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ระดับ 102.6 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.04 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.8 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดอ่างทอง และลพบุรี เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 67.3 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 59.5 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 2.8 และ 26.7 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 23.7 และ 36.5 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 917 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 465.2 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดสระบุรีเป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 263.5 ต่อปี สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 8.8 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมปรับตัวดีขึ้นมาที่ระดับ 90.2 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 8.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต ตรัง และพังงา เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 57.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 69.4 ต่อปี เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 15.5 และ 16.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 36.9 และ 16.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.5 และ 14.3 ต่อปี ตามลำดับ ตามการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต สุราษฏร์ธานี และปัตตานี เป็นสำคัญ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม ปี 2560 (เบื้องต้น) อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี โดยเฉพาะในจังหวัดตาก และเชียงใหม่ เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 53.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 62.6 ต่อปี เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 8.8 และ 18.6 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 879 ล้านบาท โดยเฉพาะในจังหวัดตากและเพชรบูรณ์ เป็นสำคัญ สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.8 และ 9.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่ระดับ 83.7 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม (เบื้องต้น) 2560 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยเฉพาะในจังหวัดนนทบุรี และสมุทรสาคร เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 41.9 และ 12.8 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 57.8 และ 11.9 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 12.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 18.5 ต่อปี ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 1,747 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นสำคัญ สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 9.4 และ 19.6 ต่อปี ตามลำดับ ตามการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ และปทุมธานี เป็นสำคัญ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.3 ต่อปี ตามการขยายตัวของจังหวัดหนองคาย และบึงกาฬ เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 24.0 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 36.9 และ 2.1 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.0 ต่อปี สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 15,907 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นสำคัญ สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.8 และ 10.5 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมปรับตัวดีขึ้นมาที่ระดับ 84.1 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี ตามการขยายตัวของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 59.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 56.4 ต่อปี เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 19.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 17.6 และ 25.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 336 ล้านบาท โดยเฉพาะในจังหวัดเพชรบุรีและราชบุรี เป็นสำคัญ สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 9.0 ต่อปี ตามลำดับ ตามการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม กาญจนบุรี และราชบุรี เป็นต้น สำหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม (เบื้องต้น) 2560 ที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ