ส.อ.ท. – กสอ. ร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Packaging) ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ หนุน SMEs นำไปใช้ได้จริง

พฤหัส ๐๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๘:๐๐
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า พิธีเปิดตัวกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Packaging) ภายใต้โครงการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยในวันนี้ เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากช่วยปกป้องสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว ยังมีส่วนช่วยในด้านการตลาด การขาย และการสื่อสารกับผู้บริโภคได้ แต่ในปัจจุบัน ผู้ผลิตสินค้าอาจยังมองข้ามในแง่มุมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในโครงการนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบ จนถึงปลายทางการ-จัดการ หรือที่เรียกว่า การจัดการอย่างครบวงจร (Closed Loop Packaging, CLP) ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากออกแบบไม่ดี ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาจเป็นภาระในขั้นตอนการจัดการหรือการกำจัดได้

สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญ ของ ส.อ.ท. ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้ ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมไทยจะพัฒนาไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น จึงอยากให้โครงการนี้เป็นต้นแบบให้กับอุตสาหกรรมรายอื่นต่อไป รวมถึงในอนาคต หากมี การขยายผลในโครงการนี้ไปในวงกว้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมให้ความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จึงได้จัดทำกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Packaging) โครงการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ตลอดจนการต่อยอดงานวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน การจัดหาวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตภายในประเทศ เพื่อรองรับความต้องการด้านบรรจุ-ภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์อย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ คือ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Packaging) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้เกิดศักยภาพ ทางการแข่งขันในตลาดสากล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อันประกอบด้วย

1) ผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรม S-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น

2) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอนาคต New S-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) อาทิ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเวชภัณฑ์ ยาสมุนไพร เป็นต้น

ที่ผ่านมา แม้จะมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการจัดการกาก-ของเสียเป็นหลักแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ คือ บรรจุภัณฑ์ที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของการค้า การขนส่ง และมิติด้านสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์ โดยสามารถพิจารณาได้หลายแง่มุม ซึ่งการใช้การประเมิน วงจรชีวิต หรือ LCA เป็นวิธีหนึ่งในการเข้ามาช่วยให้สามารถตัดสินได้ว่า บรรจุภัณฑ์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนใด ดังนั้น การออกแบบที่ใช้หลักการ LCA เข้ามาช่วยนั้น จะเป็นแนวทางที่กรมส่งเสริมอุตสาหรรม ให้ความสนใจ และสนับสนุนให้เกิดเป็นต้นแบบ โดยเฉพาะในโครงการนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหรรม มีกลุ่มเป้าหมายเป็น SMEs ที่มีต้นทุนไม่มากนัก แต่มีจำนวนมาก ซึ่งผลที่เกิดขึ้น จะเป็นต้นแบบให้ SMEs อื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ นำไปใช้เป็นแนวทางต่อยอดต่อไปได้ในอนาคต

เมื่อโครงการนี้สำเร็จ จะเป็นต้นแบบให้ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เห็นถึงทิศทางในการพัฒนาบรรจุ-ภัณฑ์ ที่นอกจากจะมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลประกอบการที่ดีแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนต่อไป นางวันเพ็ญกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ