สำนักงาน สบส. เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี ตรวจสอบระบบวิศวกรรมห้องแยกโรค รพ. อำนาจเจริญ ก่อนเปิดให้บริการแก่ประชาชน

ศุกร์ ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๒:๐๑
สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ (สำนักงาน สบส.) เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินงานตามนโยบายของ พญ.ประนอม คำเที่ยง อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ในการขับเคลื่อนระบบมาตรฐานระบบบริการสุขภาพให้สถานบริการสุขภาพมีความปลอดภัยทั้งด้านอาคาร สิ่งแวดล้อม เครื่องมือแพทย์ และสุขศึกษา เพื่อควบคุมกำกับคุณภาพสถานบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานก่อนการส่งมอบบริการสุขภาพสู่ประชาชน

กลุ่มวิศวกรรมการแพทย์ สำนักงาน สบส. เขต 10 เข้าตรวจสอบและทดสอบห้องแยกโรคก่อนเปิดให้บริการแก่ประชาชน ณ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ โดยจะดำเนินการทดสอบระบบ อาทิ ระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศและจากละอองฝอย ระบบการป้องกันเชื้อโรคจาการสัมผัส ระบบระบายอากาศ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย เป็นต้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อไปยังผู้ป่วยอื่น ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 5 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเสนางคนิคม โรงพยาบาลลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร โรงพยาบาลศรีสะเกษ และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ