ม.อ.ตรัง คว้า 2 รางวัล จากการแข่งขันออกแบบโครงการแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงระดับเยาวชน YICMG2018

ศุกร์ ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๑:๓๖
อาจารย์โอปอร์ ชัยสง่าพงษ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตตรัง เผยถึง การนำนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันออกแบบโครงการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงระดับเยาวชน ประจำปี 2018 หรือ YICMG2018 : The Youth Innovation Competition on Lantsang-Mekong Region's Governance and Development จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 26-30 มกราคม ที่ผ่านมา โดยมี นักศึกษาจากวิทยาเขตตรัง จำนวน 3 คน คือ นางสาวนิอารยา มะแซ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นางสาวนาครินทร์ นิลนิภา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษา และนายธนกร บุญญวัฒน์วณิชย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ เข้าร่วมกิจกรรมและคว้า2 รางวัล คือ รางวัล The best project for incubation team award และ รางวัล The best multinational team award มาได้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวิทย์ พจนตันติ รองอธิการบดีวิทยาเขตตรัง อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมเดินทางไปให้กำลังใจ

อาจารย์โอปอร์ กล่าวว่า ในการเข้าร่วมแข่งขันออกแบบโครงการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงระดับเยาวชน ประจำปี 2018 ปีนี้มีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม จาก 6 ประเทศ แถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้แบ่งรอบการแข่งขันออกเป็น 2 รอบ รอบแรก เป็นการเข้าร่วมประกวดชิงรางวัล The best project for incubation team award โดยนักศึกษาจากวิทยาเขตตรัง สามารถคว้ารางวัลนี้มาได้ จากผลงานชื่อ Eco tourism with application ภายใต้ธีม The development of tourism and another green industry หรือการพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสีเขียว โดยผลงานชิ้นนี้เป็นการสร้างแอพพลิเคชั่น แนะนำอาหารท้องถิ่น ใช้แอพพลิเคชั่นในการบอกรายละเอียดต่างๆ แทนการใช้กระดาษ แผ่นพับ โบรชัวร์ ได้รับเงินรางวัล 10,000 หยวน หรือประมาณ 50,000 บาท เพื่อนำมาต่อยอดทำจริง และจะต้องกลับไปนำเสนอผลงานอีกครั้งในช่วงเดือนกรกฎาคม นี้ ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

ส่วนรางวัล The best multinational team award อาจารย์โอปอร์ กล่าวว่า เป็นการทำกิจกรรมของนักศึกษาที่ต้องสลับทีมกันคิดผลงานที่ต่อยอดจากผลงานที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละทีมจะไม่มีรายละเอียดของงานที่ตัวเองได้รับเลย เป็นความท้าทายความสามารถของนักศึกษาอย่างแท้จริง ว่าจะมีไหวพริบและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดผลงานได้มากเพียงใด โดยในกิจกรรมนี้ นักศึกษาของเรา คือนางสาวนาครินทร์ ได้ร่วมกับเพื่อนในทีมจากประเทศเวียดนามและพม่า คิดค้นต่อยอดผลงานชื่อ Ecosystem educational tour

การแข่งขันออกแบบโครงการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงระดับเยาวชน หรือ YICMG 2018 เป็นกิจกรรมสำหรับเยาวชนในระดับมหาวิทยาลัย โดยต้องการที่จะทราบวิสัยทัศน์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงและเป็นกลไกการทำงานให้กับผู้ประกอบการต่อไปด้วย โดยนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้ร่วมในกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และรางวัลที่ได้มา จะต้องนำกลับมาต่อยอดผลงานและกลับไปนำเสนอในเวทีใหญ่ที่ประเทศจีนอีกครั้งในช่วงกลางปีนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ