"เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังเปลี่ยนชีวิตเราไปในหลาย ๆ ทาง และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ เราสามารถตรวจดูลักษณะทางพันธุกรรมของร่างกาย และทำนายถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เมื่อเห็นชัดเจนว่าการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันจะนำไปสู่อะไร เราก็สามารถวางแผนรับมือที่เหมาะสมสำหรับอนาคตได้ ด้วยการตรวจง่าย ๆ ที่ทำได้กับผู้คนทุกช่วงวัยช่วยให้เราสามารถเตรียมการรับมืออย่างรอบด้านด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจากเวชศาสตร์สี่สาขาอันได้แก่ เวชศาสตร์ด้านการทำนายสุขภาพ เวชศาสตร์การป้องกัน เวชศาสตร์การคืนความแข็งแรง และเวชศาสตร์การฟื้นฟูร่างกาย การตรวจดังกล่าวเรียกว่า Vitallife Vitality Index หรือดัชนีการมีอายุยืนยาวของไวทัลไลฟ์นั่นเอง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย สูตินรีเวช/ แบรนด์แอมบาสเดอร์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ และผู้อำนวยการศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
ดัชนีการมีอายุยืนยาวของไวทัลไลฟ์ (The Vitallife Vitality Index)
ดัชนีการมีอายุยืนยาว (Vitality IndexTM) ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อช่วยในการจัดโปรแกรมเพื่อความยืนยาวของชีวิตแบบองค์รวม ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ในด้านการทำนายสุขภาพ การป้องกัน การคืนความแข็งแรงและฟื้นฟูร่างกาย
ดัชนีการมีอายุยืนยาว (Vitality Index) จะพิจารณาองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพดี ดังต่อไปนี้
1. ตัวชี้วัดด้านฮอร์โมน (Hormone Index)
การทำความเข้าใจถึงบทบาทของฮอร์โมนที่มีต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีฮอร์โมนในระดับที่สมดุลมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและคงความอ่อนเยาว์ไว้ตลอดช่วงชีวิต โดยตัวชี้วัดด้านฮอร์โมนซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของดัชนีวัดความยั่งยืน จะบอกคุณได้ว่าร่างกายรับมือกับกระบวนการแก่ชราได้ดีเพียงใดเมื่อพิจารณาจากฮอร์โมน
2. ตัวชี้วัดจากความดันโลหิต (Blood Pressure Index)
การอ่านค่าความดันโลหิตนั้นทำได้โดยง่ายด้วยเครื่องวัดความดันธรรมดา ๆ ซึ่งมีอยู่ในท้องตลาดและเราสามารถซื้อหามาใช้ที่บ้านได้ ผู้คนส่วนมากมีค่าความดันโลหิตสูงเกินกว่าค่าที่แนะนำ และจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่มีค่าความดันโลหิตสูงในระดับที่เป็นอันตราย ไวทัลไลฟ์ใช้ดัชนีตัวชี้วัดความดันเลือดเพื่อช่วยคุณลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง และช่วยให้คุณสามารถควบคุมความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Index)
ตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรตเป็นการประเมินว่าร่างกายรับมือกับอาหารกลุ่มนี้ได้มากน้อยเพียงใดจากกระบวนการเคมีในร่างกายที่เรียกว่า กลัยเคชั่น (glycation) ซึ่งคือการที่โมเลกุลของกลูโคสหรือน้ำตาลไปเกาะติดอยู่กับโมเลกุลของโปรตีนหรือไขมัน ภาวะกลัยเคชั่น (glycation) ที่มากเกินไปเป็นเหตุให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ต้อกระจก มีไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด และความเสื่อมชราของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย ประโยชน์จากตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรต คือ คุณจะสามารถลดน้ำหนักลงได้ เซลล์ที่ผลิตอินซูลินมีโอกาสได้พัก และคุณสามารถลดน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติได้
4. ตัวชี้วัดด้านความเครียด (Stress Index)
ตัวชี้วัดด้านความเครียดจะวัดว่าคุณมีความเครียดมากน้อยเพียงใด และคุณรับมือกับความเครียดนั้น ๆ ได้อย่างไร การที่มีคะแนนในส่วนของตัวชี้วัดด้านความเครียดสูง เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณจำเป็นต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อลดความเครียดในชีวิตลง และพยายามรับมือกับความเครียดด้วยเทคนิคการผ่อนคลายความเครียด
5. ตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle Index)
การสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นทางเลือกในการใช้ชีวิตที่ส่งผลอย่างมากต่อความยืนยาวของชีวิต การสูบบุหรี่แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นอันตรายมากพอและควรต้องเลิก ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์นั้นตรงกันข้าม เพราะอาจมีประโยชน์อยู่บ้างหากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิตบอกเราได้มากถึงขนาดที่ว่าสิ่งที่เราทำขณะนี้ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต
6. ตัวชี้วัดด้านคอเลสเตอรอล (Cholesterol Index)
ตัวชี้วัดด้านคอเลสเตอรอลจะช่วยประเมินสัดส่วนของคอเลสเตอรอล HDL ที่เป็นประโยชน์ และ LDL ที่เป็นอันตรายภายในร่างกาย เนื่องจากคอเลสเตอรอลที่มีอยู่สูงในกระแสเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดซึ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ร้ายแรง อาทิ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากคอเลสเตอรอลถึงร้อยละ 75 ถูกสร้างจากภายในร่างกายเองโดยตับเป็นส่วนใหญ่ คอเลสเตอรอลส่วนเกินถูกผลิตขึ้นเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อแดงติดมัน ผลิตภัณฑ์นมเต็มไขมัน และเนย ขณะที่ความเครียดก็เป็นปัจจัยให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเครียด หรือคอร์ติซอลเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิต ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มนั่นเอง
7. ตัวชี้วัดด้านสมรรถภาพของร่างกาย (Fitness Index)
ยุคปัจจุบัน ในโลกที่เต็มไปด้วยความเครียด การรออกกำลังกายและดำรงสมรรถภาพของร่างกายต้องอาศัยการกระตุ้นแบบปลอม ๆ ด้วยความพยายามของเราเอง และเช่นกัน ความพยายามดังกล่าวจะให้ผลลัพธ์ที่ดีในแง่ของสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องหมายถึงการไปฟิตเนส แต่อาจทำได้ง่าย ๆ เช่นการเดิน ตัวชี้วัดด้านสมรรถภาพของร่างกายทำให้ได้ทราบถึงระดับสมรรถภาพของร่างกายในปัจจุบันอย่างละเอียด โดยพิจารณาถึงความสามารถในเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ความสมดุล ความแข็งแกร่ง ปฏิกิริยาตอบสนอง และตัววัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพของร่างกาย
8. ตัวชี้วัดด้านองค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition Index)
องค์ประกอบของร่างกายเป็นการวัดว่าร่างกายของเราประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันเท่าไร และไม่ใช่ไขมัน หรือส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อ กระดูก และเลือดเท่าไร ไขมันในร่างกายอาจแบ่งได้เป็นสองชนิด ได้แก่ ไขมันที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ และไขมันสะสมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำรอง เช่นเดียวกัน มรดกจากบรรพบุรุษไม่ได้เอื้อกับเราสักเท่าไรนัก พันธุกรรมอาจบอกเราให้สำรองพลังงานไว้ให้มากที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์เมื่อหลายพันปีก่อน แต่ไม่ใช่ในยุคปัจจุบัน ผู้ชายต้องการไขมันในร่างกายมากที่สุดเพียงร้อยละ 12 ถึง 20 ขณะที่ผู้หญิงต้องการเพียงร้อยละ 20 ถึง 26 เท่านั้น
9. ตัวชี้วัดด้านการอักเสบ (Inflammation Index)
ซอฟต์แวร์ทางชีวภาพของเราพัฒนาขึ้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการและยังคงได้รับการปรับปรุงอยู่เรื่อยมา ปัจจุบันเรามีวิศวกรทางเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีระดับนาโนที่กำลังพยายามปรับปรุงร่างกายของเราให้ดีขึ้น แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่ร่างกายมนุษย์เวอร์ชั่น 2.0 จะเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้ คือการพยายามเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายให้ได้มากที่สุด ตัวชี้วัดด้านการอักเสบจึงเป็นประโยชน์ในการสร้างโปรแกรมใหม่ให้กับชีวเคมีของร่างกาย
การอักเสบเรื้อรังนั้นแตกต่างออกไป โดยเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะสมภายในร่างกายอยู่หลายปีโดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย จากนั้นภาวะอักเสบเรื้อรังนี้จะแสดงตัวในรูปของโรคร้ายแรง อาทิ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน อัลไซเมอร์ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
กระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) ที่ไม่สมบูรณ์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น มองง่าย ๆ คือ กระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) เป็นกลไกการเปิดปิดให้โมเลกุลของคาร์บอนและไฮโดรเจน หรือที่เรียกรวมกันว่ากลุ่มเมธิล (methyl group) สามารถมาเกาะกับเซลล์ของร่างกายได้ กลไกดังกล่าวมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ
ตัวชี้วัดด้านการอักเสบนี้จะประเมินภาวะการอักเสบเรื้อรังและกระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยสรุป
ดัชนีการมีอายุยืนยาวของไวทัลไลฟ์เป็นแนวทางใหม่ที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจว่าเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าเดิมและด้วยวิธีการใด ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญของหนทางสู่สุขภาวะที่ดีอันจะนำมาซึ่งชีวิตที่ยืนยาว พบกับดัชนีการมีอายุยืนยาวได้ที่ไวทัลไลฟ์ ซึ่งจะช่วยคุณให้มีสุขภาวะที่ดี มีความสุขทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต
เกี่ยวกับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพระดับสากล ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ดำเนินงานตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่ผ่านการอบรมจากอเมริกันบอร์ด ภายใต้แนวคิดการดูแลสุขภาพแห่งอนาคต อันประกอบด้วยเวชศาสตร์คาดการณ์และป้องกันโรค เวชศาสตร์การฟื้นฟูสุขภาพและพลังชีวิต ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการรับรองจาก World Council for Clinical Accreditation เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแห่งแรกของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากดีเอ็นวี. จีแอล เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลเพื่อผู้ป่วยนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกในเรื่องมาตรฐานคุณภาพระดับสากล มีความโดดเด่นในด้านการพัฒนาและบริหารความเสี่ยงที่ถอดแบบมาจากธุรกิจเฮลแคร์และธุรกิจอื่นๆที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก และได้รับการยอมรับจากสถานพยาบาลและโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา