ฟอร์ติเน็ตแนะ 3 มาตรการสำคัญสำหรับองค์กรในเอเชียป้องกันภัยในไอโอที

ศุกร์ ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๒:๓๙
ฟอร์ติเน็ต (Fortinet(R) NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์แบบบูรณาการและครบวงจรทรงประสิทธิภาพสูงเตือนผู้บริหารจัดการด้านข้อมูลและความปลอดภัยขององค์กร (CISOs) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เริ่มประยุกต์ใช้มาตรการสำคัญ 3 ประการในการต่อสู้ปัญหาที่มากับความนิยมใช้งานอุปกรณ์ไอโอที

องค์กรยักษ์ใหญ่ Vodafone ได้ออกรายงาน IOT Barometer Report ประจำปี 2017 ฉบับที่ 5 พบว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเป็นภูมิภาคที่มีการใช้กับไอโอทีมากที่สุดในโลก เนื่องจากองค์กรล้วนต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เริ่มใช้ไอโอที โดยมีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ในอเมริกาและ 26 เปอร์เซ็นต์ในยุโรป และจากรายงานการสำรวจองค์กรต่างๆ ทั่วโลกล่าสุดอีกฉบับซึ่งจัดทำโดย Gartner ในเดือนตุลาคมปีพ. ศ. 2560 พบว่าสัดส่วนของ CISOs ในองค์กรทั่วโลกใช้เทคโนโลยีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ นั้นมีเทคโนโลยีไอโอทีอยู่ในอันดับแรก โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองมีองค์กรจำนวนถึง 43 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้งานหรือกำลังวางแผนที่จะใช้ไอโอที ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่มีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์

เกวิน เชา นักกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยและเครือข่ายแห่งฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า "อุปกรณ์ไอโอทีจำนวนมากไม่เคยถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ไอโอทีนับพันล้านพันล้านชิ้นกับผู้บริโภคและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่อยู่อาศัย โรงงานและเมืองต่างๆ จึงเกิดผลกระทบด้านความปลอดภัยของสังคมที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นเป็นทวีคูณนี้ และเริ่มจะขาดการควบคุม อุปกรณ์เหล่านี้มักเป็นอุปกรณ์ประเภท "Headless" ที่มีศักยภาพในการทำงานและความสามารถในการประมวลผลที่ต่ำ ซึ่งหมายความว่า การติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยการใช้การอัปเดตหรือการแก้ไขช่องโหว่นั้นจะเป็นไปไม่ได้ และที่แย่ไปกว่านั้น ในการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าอุปกรณ์ไอโอทีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดมีความเสี่ยงในการถูกโจมตีโดยภัยไซเบอร์ "

การรักษาความปลอดภัยให้ไอโอที ต้องมีความเข้าใจในเชิงลึกว่าอุปกรณ์ใดบ้างที่สามารถเชื่อถือได้และจัดการได้ ฟอร์ติเน็ตจึงได้แนะนำแนวทางในการพัฒนา และปรับใช้ซีเคียวริตี้แฟบริค อันเป็นสถาปัตยกรรมความปลอดภัยแบบไซเบอร์แบบอัจฉริยะระดับโลก โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้:

1. เรียนรู้ (Learn)

- องค์กรต้องเข้าใจถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของแต่ละอุปกรณ์และระบบนิเวศของเครือข่ายที่พวกเขาผูกไว้ด้วยกัน ดังนั้น โซลูชันด้านความปลอดภัยที่ใช้นั้นจึงต้องมีศักยภาพในการมองเห็นที่ครอบคลุมครบถ้วนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเครือข่ายและแยกแยะอุปกรณ์ไอโอทีทั้งหมดในแบบเรียลไทม์ เพื่อนำมาสร้างโปรไฟล์ด้านความเสี่ยง จากนั้น จึงจะกำหนดอุปกรณ์ไอโอทีที่พบนั้นลงในกับกลุ่มที่แตกต่างกัน

2. จัดกลุ่ม (Segment)

– เมื่อองค์กรได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์และการจัดการแบบรวมศูนย์ในกรอบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ในข้างต้นแล้ว จึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการโจมตีที่ไอโอที ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของการควบคุมเหล่านี้ คือการแบ่งกลุ่มอุปกรณ์และจัดสร้างโซลูชั่นการสื่อสารสำหรับกลุ่มต่างๆ นั้นแบบอัจฉริยะและอัตโนมัติ ลงในโซนเครือข่ายปลอดภัยที่มีการบังคับใช้นโยบายเฉพาะกลุ่มและปรับแต่งนโยบายเองได้แบบไดนามิก ซึ่งจะช่วยให้เครือข่ายสามารถให้สิทธิ์และบังคับใช้สิทธิพื้นฐานสำหรับแต่ละโปรไฟล์ความเสี่ยงของอุปกรณ์ไอโอทีโดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถกระจายและรวบรวมข้อมูลที่สำคัญได้

3. การปกป้อง (Protect)

– และเมื่อองค์กรกลยุทธ์รวมกลุ่มอุปกรณ์ไอโอทีที่กำหนดนโยบายเฉพาะได้ กับกลยุทธ์วิธีการแบ่งส่วนเครือข่ายภายในแบบอัจฉริยะแล้ว จะทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบและบังคับใช้นโยบายอุปกรณ์ได้หลายระดับ (Multilayered monitoring) โดยอิงจากกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เกิดในเครือข่ายขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของแบบกระจาย อย่างไรก็ตาม การแบ่งส่วนอย่างเดียวอาจยังมีปัญหาการมองเห็นที่เป็นส่วนๆ อยู่ ดังนั้น องค์กรจึงควรเชื่อมโยงแต่ละกลุ่มและกลุ่มเครือข่ายเข้าด้วยกันด้วยกรอบความปลอดภัยแบบองค์รวม ที่เรียกว่า "ซีเครียวริตี้แฟบริค" ซึ่งการเชื่อมโยงแบบบูรณาการตามผืนผ้าแห่งความปลอดภัยนี้จะก้าวข้ามความแตกต่างของอุปกรณ์และการทำงานที่แยกกันของอุปกรณ์ จึงช่วยเชื่อมโยงข้อมูลด้านภัยคุกคาม (Threat intelligence) ระหว่างเครือข่ายต่างๆ และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ และส่วนต่างๆ อีกทั้งยังบังคับใช้ฟังก์ชันการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงให้กับอุปกรณ์ไอโอที และให้กับทราฟฟิคที่อยู่ทุกแห่งทั่วเครือข่ายโดยอัตโนมัติ

"ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่ป้องกันอุปกรณ์ปลายทางและแพลตฟอร์มดั้งเดิมเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอต่อการรักษาความปลอดภัยสำหรับสภาพแวดล้อมแบบไอโอที ธุรกิจต้องใช้ผืนผ้าที่ได้รับการสร้างขึ้นจากกรอบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ซึ่งจะเชื่อมโยงไอโอทีเข้ากับแกนกลางและออกสู่ระบบคลาวด์ได้ ทั้งนี้ เพื่อที่จะส่งให้องค์กรเองสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้" เกวินกล่าวสรุป

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด และมีลูกค้ามากกว่า 320,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ www.fortinet.com และ The Fortinet Blog หรือ FortiGuard Labs

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ