ยูเออีเร่งเครื่องผลักดันโครงการตั้งถิ่นฐานในอวกาศ ผ่านศูนย์วิจัยโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด เพื่ออนาคต

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๐๘:๕๑
ศูนย์วิจัย MBR for Future Research ซึ่งก่อตั้งโดยมูลนิธิ Dubai Future Foundation จะเร่งขับเคลื่อนจุดมุ่งหมายด้ายอวกาศของยูเออี

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเร่งผลักดันกิจกรรมการสำรวจอวกาศทั่วโลกให้รุดหน้า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี จึงได้ประกาศเปิดตัว Space Challenge พร้อมด้วยเงินสนับสนุนโครงการท้าทายจากทุกสาขาการวิจัยที่มีแนวความคิดเพื่อการปลดล็อกอนาคตแห่งการตั้งถิ่นฐานในอวกาศของมนุษย์ ความท้าทายดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดความคิดสติปัญญาอันปราดเปรื่องจากทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงสาขาวิชา ภูมิหลัง หรือที่มา

(รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/639955/MBR_Global_Space_Challenge_Infographic.jpg )

ยูเออีจะมอบเงินทุนตั้งต้นมูลค่า 2 ล้านดีแรห์ม (AED) ผ่านทาง Space Challenge สำหรับโครงการที่นำเสนอแนวความคิดที่ไม่เคยมีมาก่อนและพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อการใช้ชีวิตและทำงานในอวกาศ เงินทุนดังกล่าวจะถูกใช้ในการเชิญชวนข้อเสนอโครงการจากสาขาวิชาที่หลากหลาย ผ่านทางแพลตฟอร์มระดมทุนยุคใหม่ที่เรียกว่า "Guaana" ซึ่งมีนวัตกรรมที่ช่วยลดเวลาและความพยายามในการหาเงินทุนตั้งต้นมาสนับสนุนแนวคิดต่างๆ

ศูนย์วิจัย Mohammed Bin Rashid Centre for Accelerated Research ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมูลนิธิ Dubai Future Foundation (DFF) ได้ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อการสำรวจอวกาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายระดับโลกประการแรก ๆ ของทางศูนย์

Khalfan Belhoul ซีอีโอของมูลนิธิ Dubai Future Foundation กล่าวว่า "ยูเออีกำหนดเส้นทางเดินของตัวเองสู่การเป็นผู้นำการแข่งขันด้านอวกาศระดับโลก โดยได้มีการสถาปนาเมืองแห่งแรกบนดาวอังคาร ตามโครงการ Mars Project เมื่อปี 2560 การวิจัยอวกาศถือเป็นก้าวต่อไปตามครรลองการค้นคว้าหาความรู้และการอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ และเป็นวิธีการที่ก้าวหน้าในการธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของมนุษย์ สำหรับ Mohammed Bin Rashid Space Settlement Challenge ที่เราเปิดตัวในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แนวคิดที่ออกนอกกรอบ การออกแบบที่แหวกแนว และการวิจัยที่แปลกใหม่"

ความท้าทายด้านอวกาศประกอบด้วย 3 ประการด้วยกัน ประการแรกมุ่งไปที่ Space Settlement ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแผนการวางทำเลที่ตั้งที่อาจสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานในอวกาศสำหรับการรองรับผู้อยู่อาศัยอย่างน้อย 100 คนได้อย่างยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าต่อไป ความท้าทายนี้จะครอบคลุมการสำรวจเรื่องต่าง ๆ เช่น ระบบการก่อสร้างอัตโนมัติ พลังงานไฟฟ้า อาหาร น้ำ การทำความร้อนและความเย็น โดยคำนึงถึงปัจจัยมนุษย์ (Human Factor) เป็นสำคัญ

ความท้าทายประการที่สองคือ Terraforming & Space Ecology ซึ่งจะสำรวจตรวจสอบการสร้างสภาพแวดล้อมระยะยาวที่น่าอยู่ วางกลยุทธ์เพื่อการปรับสภาพดวงดาวให้มีลักษณะที่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ เช่นดวงดาวที่อยู่ใกล้กับดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวเคราะห์น้อย และที่อยู่อาศัยอื่น ๆ ในวงโคจรอวกาศ

ความท้าทายประการที่สามคือ Economics, Business Model & Governance ซึ่งจะพัฒนาแผนธุรกิจเพื่อการใช้ทรัพยากรและเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมที่สุด ด้วยการเขียนแผนธุรกิจเพื่อหาพันธมิตรหรือหุ้นส่วนภาคเอกชนที่มีความสนใจในการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในอวกาศ ความท้าทายนี้ยังจะรับประกันในเรื่องของธรรมาภิบาล ด้วยการเสนอนโยบายระดับชาติที่ส่งเสริมให้สังคมตระหนักรู้ถึงการตั้งถิ่นฐานในอวกาศอย่างสงบสุข

เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการเป็นเวลาหนึ่งเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ทางเว็บไซต์ http://www.mbrspacechallenge.ae

ที่มา: Dubai Future Foundation

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO