มหิดลจับมือ 24 สถาบัน ผนึกกำลังสร้างมหาวิทยาลัยยั่งยืน

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๔:๐๕
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน "From Green to Sustainable University" ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ โดยระดมองค์ความรู้จากนักพัฒนาและนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาจาก 24 สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยร่วมงาน หวังเป็นพลังขับเคลื่อนร่วมกันนำสถาบันการศึกษาของประเทศไทยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน และเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University Network of Thailand : Sun Thailand) ได้ร่วมกันส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหามลภาวะของโลก โดยมีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดำเนินสู่การสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ

ภายในงาน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายพิเศษเรื่อง "มหาวิทยาลัยไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยกล่าวว่า ยั่งยืน คือการรักษาในอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด แล้วยังสามารถส่งต่อให้ผู้คนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งคำว่ายั่งยืนไม่ใช่กระแสหรือแฟชั่นแต่คือสิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก เพราะโลกกำลังเผชิญอยู่ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่จำนวนประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในพื้นที่ที่มีขนาดเท่าเดิม จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนที่ก่อประโยชน์และเกิดความสุข พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม พระองค์ท่านเน้นการดูแล ดิน น้ำ ลม ไฟ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ก็คือธรรมะ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำพวกเราไปสู่ความยั่งยืน พระองค์ท่านไม่เคยใช้คำว่ามั่งคั่ง ร่ำรวย แต่ใช้คำว่า ประโยชน์สูงสุด

"ฉะนั้นเราควรมองสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมะ คือธรรมชาติ (nature) เป็นประโยชน์ที่ควรรักษา เพราะหากเรามองเป็นทรัพยากร (resource) ก็จะเห็นแต่ทรัพย์ราคาเท่านั้น เราจึงควรปลูกฝังการมองสิ่งรอบตัวอย่างเป็นธรรม ซึ่งสามารถเริ่มได้ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะของปัญญา แต่อย่าทำให้ยุ่งยากซับซ้อน แก้ไขปัญหาเรื่องธรรมชาติอย่างง่ายๆ ธรรมดาจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้" ดร.สุเมธ กล่าว

ด้าน ศาสตราจารย์ แท ยุน ปาร์ค ประธาน Korean Association for Green Campus Initiative (KAGCI) จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ประเทศเกาหลีใต้ บรรยายพิเศษว่าด้วยประสบการณ์จากเกาหลีสู่แนวทางเริ่มต้นสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งมหาวิทยาลัยยอนเซ นั้นมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งด้านกายภาพและการเรียนการสอน จนติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยทั้งด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยลดพื้นที่จอดรถ ตลอดจนการลดขยะจากอาหาร การใช้พลังงานทดแทน หรือการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า "สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการศึกษา และวิจัย เราจึงต้องร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการสร้างให้เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน จะเป็นส่วนสำคัญของการยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025