ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ สยายปีก ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางบริการวิชาการแบบครบวงจร พร้อมรับ Thailand 4.0

พุธ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๖:๓๕
ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 33 ด้วยการเร่งขยายความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม รุกตลาดการจัดประชุมวิชาการ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทุ่มงบกว่า 5 ล้านบาทพัฒนาระบบการบริหารจัดการโครงการ เดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางพัฒนางานบริการวิชาการและงานวิจัยแบบครบวงจรในอีก 2 ปีข้างหน้า

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ ศรีบุรี กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในโอกาสที่ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chula Unisearch ดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 33 ว่า ในฐานะหน่วยงานวิสาหกิจและเป็นผู้แทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการดำเนินการร่วมกับองค์กรภายนอก ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จะมุ่งเน้นการขยายความร่วมมือทางวิชาการเชิงรุกร่วมกับคณะ/สถาบันต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานและการให้บริการมีคุณภาพยิ่งขึ้น พร้อมมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางพัฒนางานบริการวิชาการและงานวิจัยที่พร้อมรองรับงานจากทุกภาคส่วนในยุค Thailand 4.0

"ท่ามกลางสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ผลงานทางวิชาการและงานศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์และตอบโจทย์ของสังคมและประเทศมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต รวมถึงการพัฒนาสังคมและประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมมากขึ้นตามลำดับ แต่ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน หันไปใช้บริการหน่วยงานวิจัยจากต่างประเทศมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่งานบริการทางวิชาการและการศึกษาวิจัยภายในประเทศสามารถรองรับได้มีประสิทธิภาพไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จึงได้ตั้งเป้าหมายในการขยายงานบริการวิชาการและงานวิจัยให้เข้าถึงภาคอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งได้ลงทุนกว่า 5 ล้านบาทในการพัฒนาระบบการบริหารโครงการ เพื่อให้ระบบการดำเนินงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รองรับการเป็นศูนย์กลางการพัฒนางานบริการวิชาการและงานวิจัยแบบครบวงจร (One stop service center) ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า" รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ กล่าว

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ได้เร่งขยายความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่กับภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย บุคลากร รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม จนได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน หลายหน่วยงาน รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ กล่าวและเสริมว่า นอกจากนี้ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จะเน้นการขยายตลาดการจัดประชุมวิชาการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือและรองรับความก้าวหน้าทางการศึกษาวิจัย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ กล่าวว่าศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ได้สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและการวิจัยอันเป็นประโยชน์ของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ให้เป็นที่แพร่หลายสู่สังคม ผ่านบทความและบทสัมภาษณ์ทางวารสารวิชาการ "Unisearch Journal" และทางรายการวิทยุ "รอบตัวเรา" ออกอากาศทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz ทุกวันศุกร์เวลา 10.05-10.30 น. และทุกวันอาทิตย์เวลา 10.30-10.55 น.

สำหรับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่สนใจใช้บริการงานวิจัยและงานวิชาการ ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับจุฬาฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ โทร 0-2218-2880

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ