1. การวางมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของชาวนาเกลือทะเลที่พบว่ามีอยู่ประมาณ 200 รายมูลหนี้ 400 ล้านบาท โดยได้มอบหมายกรมส่งเสริมสหกรณ์ประสานกับทางสมาพันธ์ฯ เพื่อจัดแบ่งประเภทหนี้ให้ชัดเจน โดยให้มีการจัดแยกว่ากลุ่มเจ้าหนี้ทั้ง 4 ประเภท คือ สถาบันการเงิน สหกรณ์ หนี้กับบุคคลแต่มีที่ดินค้ำประกัน หรือหนี้นอกระบบ มีเกษตรกรจำนวนกี่รายอยู่ในกลุ่มใดบ้าง เพื่อพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือตามกรอบหลักเกณฑ์ที่รัฐดำเนินการได้และแนวทางที่สามารถให้การช่วยเหลือได้ เช่น หากเป็นหนี้สินของสหกรณ์ก็มีกองทุนสหกรณ์ที่เข้าไปดำเนินการได้ เป็นต้น
2. การพัฒนาสินค้าเกลือทะเลทั้งระบบ โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกลือทะเลไทย 2560 - 2564 ซึ่งจากมติครม.เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2554 ได้มีมติให้การทำนาเกลือทะเลเป็นการเกษตรและชาวนาเกลือเป็นเกษตรกร แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร ไม่ได้นิยามคำว่า "เกลือทะเล" อยู่ในพ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าเกลือทะเลใช่สินค้าเกษตรหรือไม่อย่างไร เพื่อให้สามารถจัดทำและรับรองมาตรฐานเกลือทะเลได้อย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของตลาดมากยิ่งขึ้น
3.ปัญหาการนำเข้าเกลือจากต่างประเทศที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อราคาเกลือทะเลในประเทศ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะนำประเด็นนี้ไปหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ต่อไป
4. การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนของสหกรณ์เกลือทะเล และส่งเสริมช่องทางด้านการตลาด เช่น ทางเกษตรกรได้ร้องขอให้มีการนำเกลือทะเลมาใช้ในการผลิตสารฝนหลวง ซึ่งได้มอบหมายอธิบดีกรมฝนหลวงพิจารณาเรื่องการสั่งซื้อเกลือจากเกษตรกรหรือกลุ่มสหกรณ์นาเกลือที่จะได้ราคาซื้อที่ถูกลงแต่สามารถช่วยสนับสนุนเกษตรกรได้มีช่องทางการตลาดให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นได้ โดยยังคงคุณภาพและคุณสมบัติของเกลือทะเลที่ทำการผลิตสารฝนหลวงได้มาตรฐาน