อธิบดีกิจการผู้สูงอายุ เปิดโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ชมรม-องค์กรผู้สูงอายุ-ภาคีเครือข่ายใน จ.เชียงใหม่

อังคาร ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๔:๒๙
อธิบดีกิจการผู้สูงอายุ เปิดโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ชมรม-องค์กรผู้สูงอายุ-ภาคีเครือข่ายใน จ.เชียงใหม่ "เจ้าดวงเดือน" พร้อมเจ้านายฝ่ายเหนือ สละเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุน ผู้สูงอายุ หวังจุดประกายเพื่อนช่วยเพื่อน สังคมเกื้อกูล-แบ่งปัน

ที่ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นางธนภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชมรม องค์กรผู้สูงอายุ และภาคีเครือข่ายที่ขอรับการสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ พร้อมรณรงค์บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อนำเข้ากองทุนผู้สูงอายุ และมอบของขวัญผู้สูงอายุยืน...เยาว์ ก่อนรับมอบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ เจ้าเพ็ญฉาย สิโรรส เจ้าพรทิพย์ ณ เชียงใหม่ และนาย เยี่ยม กาวิละเวศ เพื่อเข้ากองทุนผู้สูงอายุ ภายใต้คำขวัญ "เบี้ยเพิ่มทุน บุญเพิ่มโอกาส" มีนาย ไพฑูรย์ พัชรอาภา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ เชียงใหม่ นายแพทย์ พงษ์ศิริ ปรารถนาดี ประธานสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่และผู้สูงอายุเข้าร่วม 100 คน

นางธนภรณ์ กล่าวว่า มีผู้สูงอายุทั่วประเทศ 8 ล้านคน แต่ลงทะเบียนรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ไม่ลงทะเบียนอีก 5 ล้านคน มีเป้าหมายรับบริจาคเบี้ยผู้สูงอายุ เพื่อนำเข้ากองทุนผู้สูงอายุ จำนวน 50,000 คน คิดเป็น 1 % ของผู้สูงอายุทั้งหมด รวมเบี้ยผู้สูงอายุกว่า 4,000 ล้านบาท/ปี โดยเปิดรับบริจาค วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ซึ่งมีผู้บริจาครวม 300 รายแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ จึงต้องรณรงค์ขอรับบริจาคเพิ่ม เพื่อจุดประกายเพื่อนช่วยเพื่อน สังคมเกื้อกูล และแบ่งปันให้ขยายวงกว้างออกไปอีก ซึ่งปีนี้ รัฐบาลจัดสรรเบี้ยผู้สูงอายุ กว่า 64,000 ล้านบาท ตั้งแต่ 600-1,000บาท/เดือน ตามช่วงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีมาตรการให้เงินยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมาจากภาษีสรรพสามิต อาทิ สุรา ยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 4,000 ล้านบาท/ปี และเงินบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พร้อมสำรวจผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไป พบว่ามีจำนวน 2,900 คน อายุมากสุดเป็นผู้หญิง ที่ จังหวัดปัตตานี อายุ 132 ปีแล้ว และมีแนวโน้มอายุเกิน 100 ปี เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผู้สูงอายุภาคเหนือ มีจำนวน 20 % ของประชากรทั้งหมด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ