ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ปัจจัยบวกจากการบริโภคในประเทศ, การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ กังวลการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 3 เดือนหน้า

พุธ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๕:๒๙
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index : TISI) ประจำเดือนมกราคม 2561 จำนวน 1,045 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 28.7, 36.4 และ 34.9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 43.3, 14.4, 16.1, 14.0 และ 12.2 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 77.1 และ 22.9 ตามลำดับ

โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 91.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 89.1 ในเดือนธันวาคม 2560 ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

โดยในเดือนมกราคม พบว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคภายในประเทศ ที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 และการใช้จ่ายด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ อีกทั้งผู้ประกอบการได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก การแข็งค่าของเงินบาท ในการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิต ทั้งจากราคาวัตถุดิบ และราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ที่ส่งผลกระทบต่อราคาขายของผู้ประกอบการส่งออก

ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ระดับ 101.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.8 ในเดือนธันวาคม 2560 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs

ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนมกราคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของทุกขนาดอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2560

อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 75.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 73.0 ในเดือนธันวาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพรอุตสาหกรรมแก้วและกระจก, อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 93.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 96.6 ในเดือนธันวาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 91.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 90.0 ในเดือนธันวาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์,อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์, อุตสาหกรรมรองเท้า เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 104.2 ในเดือนธันวาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 103.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.8 ในเดือนธันวาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำ-สั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 107.2 ในเดือนธันวาคม 2561 โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนมกราคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออก ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม

ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 93.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 90.2 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมพลาสติก (บรรจุภัณฑ์พลาสติก ประเภทขวด ภาชนะใส่อาหาร และพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ท่อพีวีซี สายยาง มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออก สินค้าประเภทพีวีซีพลาสติกคอมปาวด์ มีคำสั่งซื้อจากประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมชนิดม้วนและแผ่น มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์)

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนซีเมนต์ผง มียอดขายและคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้ในธุรกิจก่อสร้าง จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากประเทศกัมพูชา และฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ (เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปประเภทไม้ และเหล็ก มียอดขายในประเทศลดลง)

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ104.1 ในเดือนธันวาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 86.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.7 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มากขึ้น การส่งออกสินค้าประเภทเสื้อกันหนาว เสื้อผ้าแจ็คเก็ต มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ)

อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (ผลิตภัณฑ์กระดาษทิชชู กระดาษอนามัย มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน มีคำสั่งเพิ่มขึ้นจากบริษัทและหน่วยงานภาครัฐ ผลิตภัณฑ์กระดาษสา กระดาษคราฟต์ ส่งออกไปตลาดจีน และเวียดนามเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมสมุนไพร (ยาสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อสมุนไพร และเครื่องหอมสำหรับทำสปา เพิ่มขึ้นจากตลาด CLMV)

อุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต็อคสินค้าในปริมาณสูง ทำให้ชะลอคำสั่งซื้อด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีคำสั่งซื้อลดลงจากจีน และตลาด CLMV)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 97.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.3 ในเดือนธันวาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 85.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 84.1 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมสิ่งทอ (สินค้าประเภทเส้นด้าย เส้นใยสิ่งทอและผ้าผืน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้านการส่งออกเส้นใยสิ่งทอ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความต้องการนำไปผลิตเสื้อผ้ากีฬาและเสื้อผ้าสำเร็จรูป)

อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม) (สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักประเภท Semiconductor, Monolithic IC และ HDD เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และจีน

อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (เครื่องปรับอากาศมียอดขายในประเทศและการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเพื่อรองรับช่วงฤดูร้อน ผลิตภัณฑ์คอมเพรสเซอร์ มียอดการส่งออกไปญี่ปุ่น ตะวันออกกลางและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (เครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการมีการชะลอการสั่งซื้อ ประกอบกับสินค้าในสต๊อกมีปริมาณสูง ด้านการส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร มีคำสั่งซื้อจากตลาด CLMV ลดลง)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 97.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.3 ในเดือนธันวาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 101.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.6 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศลดลง และส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ ลดลง)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (เครื่องประดับประเภทอัญมณี เพชร พลอย มีคำสั่งซื้อลดลง จากตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกงและสวิตเซอร์แลนด์ เครื่องประดับเงินและอัญมณี มียอดขายในประเทศลดลง)

อุตสาหกรรมหล่อโลหะ (งานหล่อโลหะ งานปั้มขึ้นรูป มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง จากการชะลอคำสั่งซื้อในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลโลหะการ และเครื่องมือแพทย์)

อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมเหล็ก (สินค้าประเภทเหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดร้อน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งออกเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีคำสั่งซื้อจากตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.1 ลดลงจากระดับ 107.8 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 84.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 82.5 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางล้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ยางถุงมือยางทางการแพทย์ ถุงยางอนามัย มียอดขายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศจีนและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารทะเลกระป๋อง แปรรูปและแช่แข็ง มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ และยุโรปเพิ่มขึ้น)

อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูป มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และมียอดสั่งซื้อจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ไม้ยางพาราอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจีน)

อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (การผลิตน้ำมันปาล์มดิบมีปริมาณลดลง เนื่องจากโรงกลั่น มีสต๊อกน้ำมันในปริมาณสูง ขณะน้ำมันปาล์มขวดมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง)

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 101.1 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออก ต่อยอดขายในเดือนมกราคม 2561 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2560 ขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวลดลงจากเดือนธันวาคม

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 88.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 85.5 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง, อุตสาหกรรมยา เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ101.6 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมกราคม 2561 อยู่ที่ระดับ 99.3 ปรับตัวลดลง จากระดับ 100.7 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และ ผลประกอบการ

สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ, อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 107.0 ในเดือนธันวาคม 2560 องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมกราคม

1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทย เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

2. เร่งเจรจราข้อตกลงการค้าเสรี FTA (Free Trade Area) กับสหภาพยุโรป หรือ EU เพื่อเพิ่มสิทธิ-ประโยชน์ด้านภาษี

3. ส่งเสริมผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและ มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต

4. เสนอภาครัฐขยายเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงเทคโนโลยี- การผลิต

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โทรศัพท์ 0-2345-1013

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version