ผลการจัดอันดับประเทศโปร่งใสโลกปี ๒๕๖๐ : ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นเป็น ๓๗ คะแนน ขยับขึ้นที่ ๙๖

พฤหัส ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๐:๐๙
นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า เมื่อคืนวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ได้ประกาศค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ปี 2๕๖๐ ปรากฎว่า ๒ ใน ๓ จาก ๑๘๐ ประเทศทั่วโลก ได้คะแนนต่ำกว่า ๕๐ คะแนน โดยประเทศที่ได้อันดับความโปร่งใสสูงสุดคือนิวซีแลนด์ ๘๙ คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 สำหรับไทยได้ ๓๗ คะแนน ดีขึ้นกว่าปีก่อน ๒ คะแนน ขยับจากที่ ๑๐๑ ขึ้นไปอยู่ที่ ๙๖ จาก ๑๘๐ ประเทศในการให้ค่าคะแนน CPI ปี ๒๕๖๐ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ให้คะแนนและจัดอันดับ

ประเทศไทย โดยพิจารณาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ๙ แหล่งข้อมูล ซึ่งไทยได้คะแนนเท่าเดิม ๒ แหล่ง คะแนนเพิ่มขึ้น ๓ แหล่ง คะแนนลดลง ๓ แหล่ง และอีก ๑ แหล่งไม่ปรากฏคะแนน ดังนี้

๑. แหล่งข้อมูลที่ไทย ได้คะแนนเท่ากับปีก่อน มี ๒ แหล่งข้อมูล คือ

๑.๑ International Country Risk Guide (ICRG) : Political Risk services ได้ 32 คะแนน โดย ICRG เป็นองค์กรแสวงหากำไร ให้บริการวิเคราะห์วิจัยและจัดอันดับสภาวะความเสี่ยงระดับประเทศ ประเมินความเสี่ยงด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเงิน ซึ่งองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ใช้ข้อมูลรายงานความเสี่ยงด้านการเมือง มาประกอบการพิจารณาให้ค่าคะแนน ทั้งนี้ การคอร์รัปชัน

เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงด้านการเมือง ICRG มุ่งประเมินการคอร์รัปชันในระบบการเมือง โดยเฉพาะรูปแบบทุจริต ที่นักธุรกิจมีประสบการณ์ตรงและพบมากที่สุด นั่นคือการเรียกรับสินบน การเรียกรับเงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้า/ส่งออก การประเมินภาษี รวมถึงระบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางธุรกิจกับการเมือง โดย ICRG มีการประเมินและเผยแพร่ผลประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปีคะแนนที่เท่าเดิม น่าจะเป็นผลมาจาก ICRG เน้นความเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลและฝ่ายบริหารต้องสามารถถูกตรวจสอบได้ ซึ่งประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องนี้เหมือนปีที่ผ่านมา

๑.๒ Economist intelligence Unit (EIU) : Country Risk Rating ได้ 37 คะแนน โดย EIU วิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องเผชิญ ได้แก่ ความโปร่งใสในการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณ การใช้ทรัพยากรของราชการ/ส่วนรวม การแต่งตั้งข้าราชการจากรัฐบาลโดยตรง มีหน่วยงานอิสระในการตรวจสอบการจัดการงบประมาณของหน่วยงานนั้นๆ มีหน่วยงานอิสระ ด้านยุติธรรมตรวจสอบผู้บริหาร/ผู้ใช้อำนาจ ธรรมเนียมการให้สินบน เพื่อให้ได้สัญญาสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ EIU มีการสำรวจเก็บข้อมูลประมาณเดือนกันยายนของทุกปีคะแนนที่เท่าเดิม น่าจะเป็นผลมาจากว่าถึงแม้ไทยจะได้รับการจัดอันดับการเปิดเผยงบประมาณภาครัฐดีขึ้น แต่ด้านการใช้จ่ายงบประมาณยังปรากฎเกี่ยวกับปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณไม่ถูกต้องอยู่เป็นระยะ

๒. แหล่งข้อมูลที่ไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน มี ๓ แหล่งข้อมูล คือ

๒.๑ World Economic Forum (WEF) : Executive Opinion Servey ได้ ๔๒ คะแนน (เพิ่มขึ้น ๕ คะแนน) โดย WEF สำรวจมุมมองของนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสูงสุดในการทำธุรกิจ 5 ด้าน คือ 1.การคอร์รัปชัน 2.ความไม่มั่นคงของรัฐบาล/ปฏิวัติ 3.ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย 4.ระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ 5.โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอว่าแต่ละปัจจัยเป็นอุปสรรคเพิ่มขึ้น เท่าเดิมหรือลดลง ทั้งนี้ WEF จะสำรวจข้อมูลประมาณเดือนมกราคม – มิถุนายน ของทุกปี คะแนนที่เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นผลมาจากอียู มีความสนใจฟื้นความสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากเห็นว่าไทยมีทิศทางปรับตัวในทางที่ดีขึ้นหลายด้าน นักลงทุนต่างชาติมีทัศนคติดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก สาธารณูปโภค การชำระภาษี การทำสัญญาและการออกใบอนุญาต มีการลดขั้นตอนลง การเรียกรับเงินพิเศษจากผู้มาติดต่อขอรับบริการที่มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ WEF จัดอันดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันไทยได้คะแนน ๔.๗๒ (จากเดิม ๔.๖๔) ขึ้นมาอยู่อันดับที่ ๓๒ (จากเดิมที่ ๓๔) นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับ "ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือปัญหามากที่สุดต่อการทำธุรกิจ" ปี ๒๕๖๐ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนร้อยละ ๑๐.๑ เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจลดลงจากปี ๒๕๕๙ ที่ร้อยละ ๑๑.๓

๒.๒ World Justice Project (WJP) : Rule of Law Index ได้ ๔๐ คะแนน (เพิ่มขึ้น ๓ คะแนน) โดย WJP ประเมินค่าความโปร่งใสโดยใช้หลักนิติรัฐ ซึ่งมีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ ๑.รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและถูกตรวจสอบได้ ๒.กฎหมายต้องเปิดเผย ชัดเจน มั่นคง ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ๓.กระบวนการทางกฎหมายมีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ๔.การตัดสินคดีต้องมีความเป็นธรรม มีจริยธรรม มีความเป็นกลาง ทั้งนี้ WJP มีการเก็บข้อมูลประมาณเดือนพฤษภาคม - กันยายนของทุกปี

การที่ได้คะแนนสูงขึ้น น่าจะเป็นผลมาจากการประกาศจุดยืนของนายกรัฐมนตรีในการปราบปรามการทุจริต การเปิดทำการของของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอย่างเป็นทางการ และประสิทธิภาพของการบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม เพื่อให้เข้าถึงความยุติธรรมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

๒.๓ Global Insight Country Risk Rating (GI) ได้ ๓5 คะแนน (เพิ่มขึ้น ๑๓ คะแนน) โดย GI ประเมินปัจจัยเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ต้องเกี่ยวกับคอร์รัปชัน การแทรกแซงของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินธุรกิจ การให้สินบนและสิ่งตอบแทนสำหรับพิจารณาสัญญาและขอใบอนุญาต คะแนนที่เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นผลมาจากมุมมองและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจต่อการแก้ไขปัญหาการทุจริตของรัฐดีขึ้น สถานการณ์ภายในประเทศเอื้ออำนวยต่อการลงทุน สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและบริษัทข้ามชาติด้วยหลายแนวทาง ได้แก่ การออกคู่มือมาตรการควบคุมภายในของนิติบุคคล ตามมาตรา ๑๒๓/๕ การออกมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล เป็นต้น

๓. แหล่งข้อมูลที่ไทย ได้คะแนนลดลงกว่าปีก่อนมี ๓ แหล่งข้อมูล คือ

๓.๑ Bertelsmann Foundation Transformation Index (BF) ได้ ๓๗ คะแนน (ลดลง ๓ คะแนน) โดย BF-BTI ใช้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์และประเมินกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และดูความเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ 1.ด้านการเมือง 2.ด้านเศรษฐกิจ

3.ด้านการจัดการของรัฐบาล ทั้งนี้ BF-BTI จะมีการเผยแพร่ผลทุก 2 ปี และข้อมูลที่เผยแพร่ครั้งล่าสุด คือ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ – ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ คะแนนที่ลดลง น่าจะเป็นผลมาจาก BF-BTI วิเคราะห์กระบวนการทางการเมืองเป็นหลัก โดยแม้ว่ารัฐบาลสร้างความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย จัดระเบียบสังคม ทวงคืนทรัพยากรธรรมชาติได้ผลดี แต่ขณะเดียวกันเรื่องการตรวจสอบกรณีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล การเปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินคดี การจำกัดสิทธิสื่อมวลชน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ยังเป็นจุดอ่อน

๓.2 International Institute Management Development (IMD) : World Competitiveness Yearbook ได้ 4๓ คะแนน (ลดลง ๑ คะแนน) โดย IMD นำข้อมูลสถิติทุติยภูมิและผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง ไปประมวลผลจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ คือ 1.สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 2.ประสิทธิภาพของภาครัฐ 3.ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ 4.โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ IMD จะสำรวจข้อมูลประมาณเดือนมกราคม - เมษายนของทุกปีคะแนนที่ลดลง น่าจะเป็นผลมาจากการแก้กฎหมายหลายฉบับ แต่การบังคับใช้ยังขาดประสิทธิภาพ เช่น พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการ เป็นต้น

๓.๓ Varieties of Democracy Project (V-DEM) ได้ ๒๓ คะแนน (ลดลง ๑ คะแนน) โดย V-DEM วัดเกี่ยวกับความหลากหลายของประชาธิปไตย การถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งในปี ๒๕๕๙ มีการวัดในอาเซียนเพียง ๔ ประเทศ แต่ในปี ๒๕๖๐ มีการวัดในอาเซียน ๑๐ ประเทศคะแนนที่ลดลง น่าจะเป็นผลมาจากสถานการณ์ใกล้เคียงกับปีที่มา แต่ยังคงมีจุดอ่อนด้านการถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

สำหรับแหล่งข้อมูล Political and Economic Risk Consultancy (PERC) ซึ่งเป็นการสำรวจนักธุรกิจในท้องถิ่นและนักธุรกิจชาวต่างชาติในแต่ละประเทศ เพื่อให้คะแนนเกี่ยวกับระดับปัญหาการทุจริตในประเทศที่เข้าไปทำงานหรือประกอบธุรกิจว่าลดลง เพิ่มขึ้น หรือเท่าเดิมนั้น ไม่ปรากฏข้อมูลว่า TI ให้คะแนนไทยจากแหล่งนี้เท่าใด

ดังนั้น ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มค่าดัชนีการรับรู้การทุจริตและการลดปัญหาการทุจริต จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องรวมพลังกันสร้างสังคมที่ไม่ทนกับการทุจริต สร้างค่านิยมสุจริต ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเดียวกัน "ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ