“อาฒยา” นำต่อรอบสองศึก “วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก แชมเปี้ยนชิพ” ที่สิงคโปร์

พฤหัส ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๖:๐๓
"น้องจีน" อาฒยา ฐิติกุล ตีประคองเข้ามาอีเวนพาร์ 71 รักษาตำแหน่งผู้นำต่อเป็นวันที่สอง ด้วยสกอร์รวม 6 อันเดอร์พาร์ 136 เท่ากับ ยุนจี จอง ดาวรุ่งจากเกาหลีใต้ ในศึกกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการ "วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก แชมเปี้ยนชิพ" ที่สนามเซนโตซ่า กอล์ฟ คลับ นิวตันจงคอร์ส ระยะ 6,456 หลา พาร์ 71 ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

องค์กรกำกับดูแลกีฬากอล์ฟระหว่างประเทศ (อาร์แอนด์เอ) ร่วมกับ สมาพันธ์กอล์ฟแห่งภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (เอพีจีซี) จัดการแข่งขันกอล์ฟรายการ "วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก แชมเปี้ยนชิพ" ศึกดวลวงสวิงของนักกอล์ฟสมัครเล่นหญิงชั้นนำในประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก เป็นครั้งแรก แข่งขัน ณ สนามเซนโตซ่า กอล์ฟ คลับ นิวตันจงคอร์ส ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 กุมภาพันธ์นี้ โดยมีนักกอล์ฟลงชิงชัย 83 คน จาก 18 ประเทศสมาชิก สำหรับแชมป์รายการนี้จะได้รับเชิญลงแข่งขันแอลพีจีเอทัวร์ รายการ เอชเอสบีซี วีเมนส์ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ ที่สนามเซนโตซ่ากอล์ฟคลับ แห่งเดียวกันนี้ ในสัปดาห์ถัดไป พร้อมสิทธิลุยสองรายการเมเจอร์ใหญ่ เอเอ็นเอ อินสไปเรชั่น ที่สหรัฐฯ และริโก้ห์ วีเมนส์ บริติช โอเพ่น ที่อังกฤษ ในปีหน้า

ผ่านครึ่งทางของการแข่งขันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ก.พ. ปรากฏว่า "น้องจีน" อาฒยา ฐิติกุล มือ 53 สมัครเล่นโลก วัย 15 ปี รอบนี้เก็บแต้มเพิ่มไม่ได้ ตีประคองเข้ามาอีเว่นพาร์ 71 จากการทำ 3 เบอร์ดี้ เสียไป 3 โบกี้ รวมสองวันรักษาตำแหน่งจ่าฝูงที่สกอร์รวม 6 อันเดอร์พาร์ 136 เท่ากับ ยุนจี จอง มือ 568 โลกวัย 17 ปี จากเกาหลีใต้ ที่เครื่องร้อนหวด 4 อันเดอร์พาร์ 67 จากการทำ 4 เบอร์ดี้ ไม่เสียแม้โบกี้เดียว ขยับจากอันดับ 4 ขึ้นมานำร่วม โดยมี เอเยน โช มือ 34 โลกจากกาหลีใต้ และ หลุยส์ คาย โก๊ะ มือดีจากฟิลิปปินส์ ตามมาที่อันดับ 3 ร่วม ด้วยสกอร์ไล่หลังสโตรคเดียว

อาฒยา ฐิติกุล ซึ่งเก็บสองเบอร์ดี้ติดที่หลุม 16-17 ช่วยให้เก็บรอบนี้ที่อีเวนพาร์ เผยว่า "วันนี้ตำแหน่งธงบางหลุมยากกว่าเมื่อวาน อยู่ในไลน์ที่ก้ำกึ่ง ออนทางไหนก็พัตต์ยาก เก็บได้ 2 เบอร์ดี้ในสองหลุมช่วงท้ายดีใจมากเพราะก่อนหน้านั้นเกินอยู่สอง จบวันนี้ทำอีเวนพาร์ก็พอใจ โดยรวมไดร์เวอร์ดี แต่เหล็กกับพัตต์ไม่ค่อยดี พัตต์จับระยะไม่ค่อยได้ ไม่ค่อยมั่นใจ จับสปีดกรีนไม่ค่อยได้ พรุ่งนี้ก็คงเล่นเกมเดิม และจะไปซ้อมเหล็กกับพัตต์ให้ดีกว่านี้ ถ้าสองอย่างนี้เข้าที่ผลงานจะออกมาดี"

ด้าน ยุนจี จอง หนึ่งในนักกอล์ฟหลักทีมชาติเกาหลีใต้ กล่าวหลังขึ้นมานำร่วมว่า "พอใจกับเกมวันนี้มาก ช็อตดี พัตต์ใช้ได้ ไม่เสียโบกี้เลย ถ้าพัตต์ดีสกอร์จะดีกว่านี้ รู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำร่วม ฉันไม่เคยพบอาฒยามาก่อนแต่รู้ว่าเป็นนักกอล์ฟฝีมือดี ตอนนี้ไม่ได้คิดถึงเรื่องชนะเพราะมีนักกอล์ฟฝีมือดีหลายคน จะทำให้ดีที่สุดและรักษาเกมอย่างนี้ไว้"

ขณะที่นักกอล์ฟสาวไทยอีก 5 คน รอบนี้ทำอันเดอร์สนามไม่ได้ โดย ตาต้า-กัญจน์ บรรณบดี ตีเกิน 3 โอเวอร์พาร์ 74 สกอร์รวม 1 โอเวอร์พาร์ 143 อยู่อันดับ 15 ร่วม, เหมียว-ปภังกร ธวัชธนกิจ ตี 3 โอเวอร์พาร์ 74 สองวัน 3 โอเวอร์พาร์ 145 อันดับ 22 ร่วม, อ๋อม-ฐิตาภา ภักดีเศรษฐกุล ทำ 6 โอเวอร์พาร์ 77 สกอร์รวม 4 โอเวอร์พาร์ 146 อันดับ 27 ร่วม, ขนุน-ชญานิษฐ์ หวังมหาพร ตีเกิน 9 โอเวอร์พาร์ 80 รวม 7 โอเวอร์พาร์ 149 อันดับ 38 ร่วม ส่วน มีน-มนัสชยา ซีมากร ตีเกิน 10 โอเวอร์พาร์ 81 รวม 12 โอเวอร์พาร์ 154 ไม่ผ่านตัดตัว โดยรอบนี้ตัดสกอร์ผู้เล่นที่ 8 โอเวอร์พาร์ 150 เพื่อเข้าสู่รอบสามต่อไป

ข้อมูลการแข่งขันเพิ่มเติมได้ที่ www.randa.org/Championships/WomensAmateurAsiaPacific

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ