บีเอเอสเอฟสนับสนุนให้ประเทศไทยเชื่อมโยงแม่น้ำลำคลองสู่เมืองและคนไทยอีกครั้ง

พฤหัส ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๖:๒๓
บีเอเอสเอฟ, KICT (สถาบันวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยีการก่อสร้างแห่งประเทศเกาหลี), TGWA (สถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทย) และ SBB (บริษัท เอสบีบี จำกัด) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) สำหรับโครงการฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

"แม่น้ำสายต่างๆ ในประเทศไทยประสบอุทกภัยอย่างรุนแรงในช่วงฤดูมรสุม ด้วยสาเหตุนี้และการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว แม่น้ำลำคลองกำลังกลายเป็นน้ำเน่าเสียและตัดขาดจากชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ" ศาสตราจารย์ ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธาน สถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทยกล่าว "เรามีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเพื่อช่วยกันหาวิธี ที่เราสามารถจะฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาสำหรับแม่น้ำ ด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ ที่ช่วยในการจัดการความเสี่ยงจากการเกิดอุทกภัย ในการทำเช่นนี้ เรามุ่งมั่นที่จะเชื่อมต่อแม่น้ำลำคลองกับเมืองและผู้คนของเราอีกครั้ง"

ภายใต้เงื่อนไขของความร่วมมือ KICT และ TGWA จะแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการจัดการบริหารโครงการ โดย KICT จะให้ความรู้ด้านเทคนิคและการดำเนินงานที่เกิดจากโครงการที่ประสบความสำเร็จภายใต้แนวคิด Green River รวมถึงโครงการที่ประสบความสำเร็จกับพันธมิตรชาวไทย ในส่วนบีเอเอสเอฟ และ SBB จะจัดหาเทคโนโลยีและวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนโครงการ SBB ในฐานะผู้ผลิตบล็อกคอนกรีตเพื่อป้องกันแนวแม่น้ำและชายฝั่ง ทำงานร่วมกับบีเอเอสเอฟตั้งแต่ปี พ. ศ. 2553 เพื่อป้องกันชายฝั่งและการกัดเซาะของลมแรง

พันธมิตรมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เทคโนโลยีซึ่งสามารถเป็นที่อยู่อาศัยที่สำหรับพืชและยังช่วยให้หลายๆ เมืองสามารถเอาชนะความท้าทายจากอุทกภัยและการพังทลาย ซึ่งจะช่วยเชื่อมต่อระหว่างผู้คนกับแม่น้ำได้

โซลูชันของบีเอเอสเอฟ นี้เป็นชนิดที่ทำให้เกิดรูพรุนและช่วยให้น้ำซึมผ่านได้ จะสามารถช่วยให้เมืองต่างๆ เอาชนะปัญหาที่เกิดจากอุทกภัย ในขณะเดียวกันยังช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศของแม่น้ำลำคลอง ด้วยการช่วยให้แม่น้ำลำคลองกลับเป็นแหล่งน้ำที่บริสุทธิ์และฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพของแหล่งน้ำอีกครั้ง" แอนดี้ โพสเทิลธ์ไวท์ รองประธานอาวุโส หน่วยงานธุรกิจเพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคของบีเอเอสเอฟ กล่าว นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างทำนบกั้นน้ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อเปลี่ยนแนวป้องกันการกัดเซาะแบบคอนกรีตไปสู่แนวป้องกันที่สามารถโค้งงอและดูเป็นธรรมชาติ นอกจากแม่น้ำลำคลองแล้ว โซลูชันต่างๆ ของบีเอเอสเอฟ ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อป้องกันแนวชายฝั่งจากการกัดเซาะและดินถล่มได้อีกด้วย ในประเทศไทย โครงการที่ เกี่ยวกับชายฝั่งได้ติดตั้งโซลูชันของบีเอเอสเอฟแล้วในพื้นที่พัทยา ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างต่อเนื่องจากกระแสน้ำทะเลหนุนสูง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๑๒ กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมจัดกิจกรรม วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก ประจำปี 2568จัดเสวนา จังหวะดนตรี จังหวะ IP ต่อยอด Soft Power ด้วย Music
๑๔:๑๖ ห้องอาหาร 'เดอะเมย์ฟลาวเวอร์' ชวนสัมผัสประสบการณ์ของตำนานบทใหม่ พบกับการกลับมาอีกครั้งของรสชาติอาหารที่คุ้นเคย ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส
๑๔:๐๑ GARMIN ปั้น NUMBER CRUNCHING ATHLETES ปลูกฝังแนวคิด TRAIN SMARTER พัฒนาจุดเด่น แก้ไขข้อบกพร่อง
๑๔:๒๙ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ในโรงกลั่นน้ำมันบางจาก
๑๔:๕๔ กรมทรัพยากรน้ำ หนุนโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อช้างป่าทุ่งกร่าง จันทบุรี มุ่งสร้างแหล่งน้ำต้นทุน
๑๔:๓๗ Solo Leveling: ARISE เตรียมฉลองครบรอบ 1 ปี สุดยิ่งใหญ่ !
๑๓:๒๕ ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2568
๑๓:๒๘ ดีพร้อม ขานรับนโยบายเรือธงสำคัญ นายกอิ๊ง ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่เวทีโลก
๑๓:๔๘ วีเอส09 ออริจินอลเฮิร์บเผยสบู่ผสมสมุนไพรขายดีช่วงฤดูร้อน ยืนยันลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายเพิ่มยอดสบู่ส้มผสมวิตามินซี
๑๓:๑๔ Thailand Land Of Art แลหอศิลป์ถิ่นล้านนา Doofeel