ผู้บริหาร ททบ.5 ตรวจเยี่ยมสถานีโครงข่ายทีวีดิจิตอล และศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ศุกร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๖:๑๘
พลโท กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานศูนย์ข่าวภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และ จ.พิษณุโลก รวมทั้งสถานีโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอลในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง รวม 11 จังหวัด เพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพการปฏิบัติงาน ทั้งด้านการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ผ่านโครงข่ายทีวีดิจิตอลและการปฏิบัติงานของศูนย์ข่าว ที่จะตอบสนองนโยบายด้านความมั่นคงผ่านการสื่อความเข้าใจ การกระจายข้อมูลข่าวสาร จากส่วนภูมิภาคอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังเป็นการรับฟังข้อมูลการปฏิบัติงานและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 22 - 23 ก.พ.ที่ผ่านมา

ททบ.5 นับเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุด โดยให้บริการถึง 2 โครงข่าย คือ มักซ์ 2 และ มักซ์ 5 โดยมีสถานีโทรทัศน์มาใช้บริการรวม 14 สถานี ซึ่งการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีความครอบคลุมชัดเจนตามกรอบมาตรฐานของ กสทช. ซึ่ง ททบ.5 ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้คุณภาพการส่งสัญญาณสามารถเข้าถึงประชากรครัวเรือนได้ครอบคลุมทั่วถึง โดยปัจจุบันรวมทั้งการส่งสัญญาณกว่า 95% ของประเทศ ทั้งนี้ ททบ.5 จะยุติการออกอากาศประเภทอะนาล็อกในเดือนมิถุนายน 2561 หลังออกอากาศคู่ขนานทั้ง 2 ระบบ มาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นไปตามโรดแมพที่เสนอต่อ กสทช. และสอดคล้องกับคุณภาพการส่งสัญญาณดิจิตอลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยครบถ้วน

ปัญหาการส่งสัญญาณในพื้นที่ภาคเหนือ มักเป็นเรื่องสภาพอากาศพายุฝนฟ้าคะนองทำให้เครื่องส่งสัญญาณขัดข้อง ซึ่ง ททบ.5 มีเจ้าหน้าที่ประจำในทุกสถานีโครงข่ายสามารถปฏิบัติงานเข้าแก้ไขได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระบบไฟฟ้าสำรองและการส่งสัญญาณสำรอง เพื่อให้สามารถดำรงการออกอากาศได้ต่อเนื่องทุกสถานการณ์ ทั้งนี้จะต้องสามารถแก้ไขข้อขัดข้องได้เร็วที่สุดภายในวันนั้น

พลโท กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กล่าวถึงแผนการพัฒนาโครงข่ายทีวีดิจิตอลในปีนี้ว่า ได้รับการอนุมัติจากบอร์ด คณะกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก (กบท.ทบ.) ให้ ททบ.5 ติดตั้งสถานีเสริมสำรองในพื้นที่กรมการทหารสื่อสาร โดยจะเริ่มดำเนินการภายในปีนี้ เพื่อให้เกิดความเสถียร ความต่อเนื่อง และความมั่นคงในกระบวนการส่งสัญญาณ อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวอีกด้วย สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในการติดตั้งสถานีเสริมสำรองในครั้งนี้ ภายในวงเงิน 40 ล้านบาท

สำหรับนโยบายด้านการผลิตข่าวในส่วนภูมิภาคนั้น กำหนดให้ทุกศูนย์ข่าวจะต้องติดตามภารกิจสำคัญของรัฐบาล ส่วนราชการ และภาคประชาสังคม ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและอยู่ในความสนใจของประชาชน อีกทั้งยังต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ความแตกแยกในทุกภาคส่วน เนื่องจากปัจจุบันประชาชนสามารถติดตามข่าวสารได้ทุกช่องทาง โดยเฉพาะกลุ่มโซเชียลมีเดีย อันอาจทำให้เกิดความหลากหลายและขณะเดียวกันอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนสับสน โดยมองว่า ททบ.5 เป็นทีวีด้านความมั่นคงจะต้องเป็นสื่อในการนำเสนอหลักที่มีความน่าเชื่อถือและจรรโลงสังคมพร้อม ๆ กัน

แผนการตรวจเยี่ยมสถานีโครงข่ายฯ และศูนย์ข่าว ครั้งต่อไปจะเป็นทั้งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ก่อนจะยุติระบบอะนาล็อก ตามแผนงานในเดือนมิถุนายน 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ