ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 94.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากโครงการกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ และยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการปรับแผนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น ประกอบกับภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ที่มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม และจังหวัดอ่างทองมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ภายในจังหวัด เช่น อุทยานสวรรค์หนองเจ็ดเส้น เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ได้มากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาคบริการของภูมิภาค ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 97.7 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 94.1 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีค่าดัชนีแนวโน้มอยู่ที่ 99.4 เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และนโยบายส่งเสริมการลงทุนอื่น ๆ อีกทั้งผู้ประกอบการในจังหวัดจันทบุรีสนใจจะจัดตั้งโรงงานใหม่ ซึ่งขณะนี้กำลังรอการประกาศบังคับใช้กฎหมายผังเมืองใหม่อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากภาคบริการ โดยเฉพาะแนวโน้มด้านการท่องเที่ยว ที่พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สาขาค้าปลีกยังคงได้รับอานิสงส์จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเช่นเดียวกับภาคการผลิตของภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ ภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีการลงทุนในโรงงานเพิ่มขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์และลำพูน อีกทั้ง นโยบายภาครัฐเริ่มส่งผลชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดตาก รวมถึงแนวโน้มภาคเกษตร ยังคงส่งสัญญาณที่ดี ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 80.5 ตามสภาพอากาศและการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจเหนือ ปรับตัวมาอยู่ที่ 79.4 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 78.5 จากดัชนีแนวโน้มที่ดีขึ้นของภาคบริการในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะได้รับผลดีจากมาตรการลดหย่อนภาษีเขตเมืองรอง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 18 จังหวัด อีกทั้ง สาขาค้าปลีกค้าส่ง ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงดัชนีแนวโน้มของการลงทุน ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 79.8 เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 76.9 จากดัชนีแนวโน้มในภาคบริการ ส่งสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง อยู่ที่ 85.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ เนื่องจากหลายจังหวัดมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด เช่น ระนอง เป็นต้น อีกทั้ง มีการลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุงมากขึ้น มีแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานภายในภูมิภาค ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามการขยาตัวของภาคบริการเป็นหลัก ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ 74.1 ได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ที่จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งค้าส่งค้าปลีกที่มีแนวโน้มสดใส จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตลอดจนมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการ ประกอบกับแนวโน้มที่ดีในภาคการลงทุน เนื่องจากมีการลงทุนใหม่ในภาคอุตสาหกรรมอาหารภายในจังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม.และปริมณฑล อยู่ที่ 70.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ตามดัชนีแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 81.8 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องจักรและการต่อเรือ
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย บจ. ในหุ้นยั่งยืน THSI สร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อทุกภาคส่วน
- ธ.ค. ๕๓๓๖ สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤศจิกายน 2563
- ธ.ค. ๒๕๖๗ สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2563