QS เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา

ศุกร์ ๐๒ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๐๑
รายชื่อสุดยอดมหาวิทยาลัยระดับโลกในแต่ละสาขาวิชาเปิดเผยแล้ววันนี้

#QSWUR

QS Quacquarelli Symonds ผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject ครั้งที่ 8 แล้ววันนี้ โครงการวิจัยครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากสถาบันชั้นนำของโลกในสาขาวิชาทั้งหมด 48 สาขา และ 5 กลุ่มวิชา การจัดอันดับนี้เป็นผลงานที่มีความครอบคลุมมากที่สุดเมื่อเทียบกับผลงานประเภทเดียวกัน โดยออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำแก่ว่าที่นักศึกษาและนักศึกษาปัจจุบัน รวมไปถึงผู้ปกครอง ครูแนะแนวสายอาชีพและการศึกษา และบรรดานักวิชาการ ด้วยข้อมูลเปรียบเทียบผลงานของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130909/638188 )

สำหรับปีนี้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังคงเป็นสถาบันที่มีความโดดเด่นที่สุดในโลก โดยสามารถครองอันดับ1 ได้ถึง 14 สาขาวิชา ขึ้นนำสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (มีสาขาที่ครองอันดับ 1 ทั้งหมด 12 สาขาวิชา) และมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (ครองอันดับ 1 ใน 4 สาขาวิชา)

ผลการค้นพบสำคัญ:

- สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกามีอันดับลงมากกว่าอันดับขึ้น

- มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัวจาก Brexit โดยครองอันดับ 1 ได้ทั้งหมด 10 สาขาวิชา มากกว่าปีที่ผ่านมา 2 สาขาวิชา

- มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีสาขาวิชาที่ติด 10 อันดับแรกมากกว่าสถาบันอื่น ๆ (37 สาขาวิชา)

- ในทวีปยุโรป เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวที่คว้าอันดับต้น ๆ ได้ 2 สาขาวิชา ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์และอิตาลีคว้าไปได้ประเทศละ 1 สาขาวิชา

- มหาวิทยาลัยในฝรั่งเศสยังอยู่ในสภาวะที่ต้องดิ้นรน โดยมีอันดับลงมากกว่าอันดับขึ้น

- มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในเอเชีย โดยมีสาขาวิชาที่ติด 10 อันดับแรกถึง 11 สาขาวิชา

- มหาวิทยาลัยในจีนมีพัฒนาการที่ชะลอตัวลง เช่นเดียวกับรัสเซีย

- ผลการจัดอันดับปรากฎว่า มหาวิทยาลัยในอินเดียมีผลงานถอยหลังลงเล็กน้อย

- บราซิลมีสาขาวิชาที่หลุด 100 อันดับแรกเกือบถึงหนึ่งในสี่ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะดิ้นรนของระบบการศึกษาในบราซิล

- QS ได้เพิ่มสาขาวิชาใหม่อีก 2 สาขาเข้าการจัดอันดับในปีนี้ ได้แก่ สาขาบรรณารักษ์และการจัดการข้อมูล และประวัติศาสตร์คลาสสิคและโบราณ

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาปี2561: รายชื่อสถาบันที่มีสาขาวิชาติด 10 อันดับแรกมากที่สุด

สถาบัน ประเทศ จำนวนสาขาวิชาที่ติดท็อป10

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร 37

มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร 35

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา 34

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา 34

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา 32

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา 24

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา 14

วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน สหราชอาณาจักร 13

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 11

มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา 11

(c) QS Quacquarelli Symonds 2004-2018 http://www.TopUniversities.com

นายเบน โซวเทอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยของQS กล่าวว่า "ปีนี้อาจเป็นปีแรกนับตั้งแต่ที่ได้เริ่มทำโครงการวิจัยนี้มา ที่เราเริ่มมองเห็นประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมีพัฒนาการที่ชะลอตัวลง โดยยังไม่มีอัตราการครองอันดับ 50 อันดับแรกมากขึ้นอย่างชัดเจน มีเพียงมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางการแข่งขันครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ จนคว้าอันดับต้น ๆ ผลลัพธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคที่สถาบันหรือระบบการศึกษาแต่ละประเทศกำลังเผชิญ ด้วยเป้าหมายเพื่อบรรลุมาตรฐานคุณภาพงานวิจัยระดับโลก"

ดูรายงานการจัดอันดับฉบับเต็มได้ที่ http://www.TopUniversities.com

ที่มา: QS Quacquarelli Symonds

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ