ทั้งนี้การฝึกอบรมหลักสูตรการวิเคราะห์ตำหนิในเนื้อแก้วและการใช้พลังงานในเตาหลอม" มุ่งเน้นให้ความรู้ ความเข้าใจที่ครอบคลุมความรู้เบื้องต้นทางด้านแก้ว วัตถุดิบและกลไกการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกระบวนการหลอมแก้ว การคำนวณพลังงานที่ใช้ในเตาหลอมแก้ว การประเมินประสิทธิภาพเตาหลอม กระบวนการผลิตแก้ว การทดสอบสมบัติด้านต่างๆของแก้ว และการตรวจสอบตำหนิในแก้วและแนวทางการแก้ไข เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการได้รับความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นทางด้านแก้ว ซึ่งผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนา ปรับปรุง ควบคุม และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในกระบวนการผลิตแก้ว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการการต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) ซึ่งอุตสาหกรรมแก้วรวมอยู่ในกลุ่มนี้ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ประเทศก้าวเข้าสู่ ประเทศไทย 4.0
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดสัมมนายกระดับขีดความสามารถ ผปก.SME เสริมสร้างศักยภาพด้านแก้วและกระจก
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กรมวิทยาศาสตร์บริการประชุมหารือ สร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ ณ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยมและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
- ธ.ค. ๐๗๘๙ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยียกระดับสินค้า OTOP จ.น่าน ครั้งที่ 2