ก.วิทย์ฯ-สวทช. ร่วมกับ โตเกียวเทค ญี่ปุ่น เปิดสำนักงานต่างประเทศ (ANNEX) แห่งแรก ภายใน สวทช. รุกสร้างคน เร่งวิจัยอุตฯ ชั้นนำกับสถาบันการศึกษา

อังคาร ๑๓ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๐๙
ในงาน NAC 2018 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. ลงนามความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น โดย Prof. Dr. Yoshinao Mishima (ศ.ดร.โยชิโนะ มิชิมะ) อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว เพื่อจัดตั้งสำนักงานโตเกียวเทคประจำประเทศไทย (Tokyo Tech ANNEX) ครั้งแรกขึ้นในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มุ่งให้เกิดการวิจัยระหว่างภาคอุตสาหกรรมชั้นนำและสถาบันการศึกษา พร้อมเดินหน้าสร้างกำลังคน หวังเป็นศูนย์กลางพัฒนาการศึกษาและการวิจัยร่วมกัน โดยมี Mr. Masaharu Kuba (นายมาซาฮารุ คูบะ) เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย Prof. Dr. Makoto Ando (ศ.ดร.มาโกโตะ อันโดะ) รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว Prof. Dr. Kazuya Masu (ศ.ดร.คาซูยะ มาสึ) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และคณะผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยานในงาน

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนามีบทบาทในการวิจัย พัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) หรือโตเกียวเทค ดำเนินโครงการ TAIST-Tokyo Tech มาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันเป็นปีที่ 11 ซึ่งเป็นโครงการทุนการศึกษาเพื่อผลิตวิศวกรและนักวิจัยในระดับโลก ประกอบด้วยหลักสูตรสาขาวิชาที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมและองค์กรวิจัยต่างๆ ในประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งทุกหลักสูตรสอนโดยคณาจารย์จากโตเกียวเทค และการเรียนการสอนทั้งหมดอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกทุนจะได้รับทุนการศึกษาจาก สวทช. ตลอด 2 ปีเต็ม พร้อมโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัย สวทช. หรือภาคอุตสาหกรรม โครงการดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยของประเทศไทยกับหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก

"ในปี 2561 นี้ สวทช. และโตเกียวเทค มีการขยายความร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการสร้างบุคลากรรองรับภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย กับบริษัทต่างชาติ และสถาบันวิจัยต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ด้วยการจัดตั้งสำนักงานโตเกียวเทคประจำประเทศไทย หรือ Tokyo Tech ANNEX ครั้งแรกขึ้นของภูมิภาคเอเชีย เพื่อเร่งให้เกิดการวิจัยระหว่างภาคอุตสาหกรรมชั้นนำและสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทางการศึกษาและการวิจัยร่วมกัน โดยกำหนดเปิดสำนักงาน ANNEX ภายในเดือนมีนาคม 2561 นี้ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย พร้อมตั้งเป้าให้เป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ติด 1 ใน 10 ของโลกภายในปี พ.ศ. 2573 เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงจำเป็นต้องสำรวจความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และพัฒนาแผนการและจัดหาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ" ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว

Prof. Dr. Yoshinao Mishima (ศ.ดร.โยชิโนะ มิชิมะ) อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว กล่าวว่า สำนักงานโตเกียวเทคประจำประเทศไทยจะมุ่งให้ความสนใจกับการจับคู่ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมกับผู้เชี่ยวชาญ (technical seeds) โดยการเข้ามาพบปะพูดคุยของคณาจารย์และนักวิจัยจากโตเกียวเทค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยโตเกียวเทคได้ทำความร่วมมือกับ สวทช. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาโดยโครงการ TAIST-Tokyo Tech จากประสบการณ์การทำงานภายใต้โครงการดังกล่าว คณาจารย์และนักวิจัยจากโตเกียวเทคได้สร้างเครือข่ายกับบริษัท มหาวิทยาลัยชั้นนำ และสถาบันวิจัย เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางด้านการวิจัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ ทั้งนี้ โตเกียวเทคมีแผนจะจัดตั้งสำนักงาน ANNEX ในลักษณะดังกล่าวขึ้นในอีก 6 ประเทศทั่วโลก ทั้งในภูมิภาคเอเชีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป ภายในปี พ.ศ. 2573

ด้าน Prof. Dr. Kazuya Masu (ศ.ดร.คาซูยะ มาสึ) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว กล่าวเสริมว่า "ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง โตเกียวเทค และ สวทช. ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1) ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย โดยจะทำการส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกันกับบริษัทต่างชาติ มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย พร้อมสำรวจความต้องการของภาคอุตสาหกรรม วางแผนทางเทคนิค และให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิค 2) ด้านการศึกษา โดยจะดึงดูดนักศึกษาต่างชาติที่มีความโดดเด่น พร้อมใช้สำนักงาน ANNEX เป็นพื้นที่ในการสร้างพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคและสถาบันวิจัย รวมถึงผู้ประกอบการและรูปแบบของการศึกษา และสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคโดยใช้การศึกษาและสหกิจศึกษา 3) ด้านการวิจัย โดยจะส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกันกับนานาชาติผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้นในระดับปริญญาเอก และทำการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะยาวผ่านโครงการแลกเปลี่ยนในหน่วยวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอก และ 4) ด้านกระบวนการจัดหาและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยจะจัดหาข้อมูลที่เหมาะสมและผลงานที่นำสมัยทางการศึกษา ผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จและเครื่องมือวิจัยสำหรับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงจัดหาข้อมูลที่มีความสำคัญและกลยุทธ์ในขั้นตอนพื้นฐาน ตลอดจนรวบรวมข้อมูลสมัยใหม่และความเคลื่อนไหวทางเทคนิคในประเทศและภูมิภาคเพื่อสะท้อนให้เกิดแผนการในอนาคตของโตเกียวเทค"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๔๗ TEKA ร่วมสนับสนุนชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๕:๑๘ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ STI และพันธมิตร เดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง ผ่านกิจกรรม
๑๕:๓๐ ม.พะเยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านวิชาการ กับ National Pintung University สาธารณรัฐประชาชนจีน
๑๕:๓๒ สยามเซ็นเตอร์ ต้อนรับเทศกาลส่งท้ายปลายปี กับ The Magical Art (of) Toy Celebration รวมเหล่าอาร์ททอยกว่า 100 คาแรกเตอร์
๑๕:๔๘ สหพัฒนพิบูล ต้อนรับการกลับมาของซีรีส์สควิดเกม เล่นลุ้นตาย (Squid Game) ซีซัน 2 เปิดตัวรสชาติใหม่ Spicy Korean Squid Ink
๑๕:๐๙ PCE จัด Analyst Meeting Q3/2024 โชว์ศักยภาพผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มครบวงจร
๑๕:๔๔ ภาพถ่าย ช่วยแม่ คว้ารางวัลประกวดภาพถ่าย รู้จักดิน ทำกินได้ เนื่องในวันดินโลก ประจำปี 2567
๑๕:๔๓ โรงพยาบาลวิมุต ผ่านมาตรฐานสถานพยาบาลระดับโลก Joint Commission International (JCI)
๑๕:๕๖ ทั่วโลกตื่นตัวรับเทรนด์การดูแลสุขภาพเชิงคุณค่า (Value-Based Healthcare) จากงานประชุมวิชาการร่วม ประจำปี 2567 ของ
๑๕:๔๖ สุดปัง! 'LYKN' อวดความน่ารักสุดทะเล้นใส่แฟน ๆ TMC ในเพลง 'หยอกไม่หลอก'