"การที่จีนเปิดนำเข้าเนื้อไก่และชิ้นส่วนไก่ของไทย ถือเป็นโอกาสที่สำคัญยิ่งของอุตสาหกรรมไก่เนื้อและผู้ประกอบการไทย ซึ่งไทยมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่น ๆ หลายด้าน ทั้งในเรื่องมาตรฐานการผลิตที่อยู่ในระดับสากล มีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต ที่สำคัญด้วยระยะทางที่ใกล้กัน จึงส่งผลดีต่อการส่งออก ซึ่งจะทำให้ยอดการส่งออกเนื้อไก่เพิ่มขึ้น โดยการส่งออกจะผ่านที่ด่านท่าเรือเมืองกวนเหล่ย มณฑลยูนาน มีเป้าหมายส่งสินค้าสู่จีนตอนใต้เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การที่ไทยสามารถส่งไก่ได้ในครั้งนี้จะทำให้ราคาไก่สูงขึ้น เพราะจีนเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าของไทย โดยการปล่อยตู้คอนเทรนเนอร์ในครั้งนี้เป็นล็อตแรก มีจำนวน 14 ตู้คอนเทรนเนอร์ มูลค่าราว 35 ล้านบาท และจะมีการส่งออกอย่างต่อเนื่องต่อไป" นายนิวัฒน์ กล่าว
ด้าน นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่จีนมาตรวจสอบระบบการกำกับดูแลผลิตเนื้อสัตว์ปีกของไทย และตรวจสอบโรงงานเชือดสัตว์ปีกเพื่อการส่งออกของไทยนั้น สำนักงานการขึ้นทะเบียนหรือรับรองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือ CNCA จึงได้ประกาศรับรองให้โรงงานผลิตและแปรรูปเนื้อไก่ของไทย จำนวน 7 โรงงาน ได้แก่ 1) โรงงานที่ จ.นครราชสีมาของ CPF 2) โรงงานที่สระบุรี ของ CPF 3) โรงงานสุพรรณบุรี ของF&F Food 4) โรงงานที่เทพารักษ์ บางเสาธง จ.สมุทรสาคร ของ GFPT 5) โรงงานที่ชัยบาดาล จ. ลพบุรี ของบริษัทสหฟาร์ม จำกัด 6) โรงงานที่ จ.เพชรบูรณ์ ของGoldenline และ 7) โรงงานที่ปราจีนบุรี ของ Thai Foods Group. สามารถส่งออกเนื้อไก่ไปสู่ผู้บริโภคชาวจีนได้ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ มีความต้องการบริโภคเนื้อไก่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคสินค้าที่เป็น By Product อาทิ เครื่องในและเท้าไก่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ ประเมินว่าการส่งออกของทั้ง 7 โรงงานนี้ จะสร้างรายได้ประมาณ 7,000 ล้านบาทต่อปี แต่ถ้าจีนรับรองโรงงานครบทั้ง 19 แห่งที่ได้เข้ามาตรวจสอบ จะสามารถสร้างรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไก่ของไทยมีความพร้อมอย่างมากในการส่งออกเนื้อไก่ไปทั้งตลาดจีนและตลาดอื่น ๆ ของโลก