สวรส. ร่วม 10 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือวิจัยพัฒนาการใช้ข้อมูลพันธุกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย

พฤหัส ๒๙ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๑๔
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการวิจัยและพัฒนาการใช้ข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย" กับ 10 หน่วยงานสำคัญของประเทศ โดยมี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานและลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

ทั้งนี้ ภายใต้บันทึกข้อตกลงซึ่งประกอบด้วย 11 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) แพทยสภา และ สวรส. มีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนผลักดันให้เกิดการนำข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ไปใช้ตามแนวทางการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เพื่อพัฒนาให้เกิดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแนวใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยและช่วยให้คนไทยเข้าถึงนวัตกรรมอย่างเท่าเทียม โดยเทคโนโลยีนี้เป็นการช่วยเปลี่ยนจากการรักษามาเป็นการป้องกันโรค เช่น การตรวจพันธุกรรมเพื่อลดปัญหาการแพ้ยาและการเลือกใช้ยารักษามะเร็งที่เจาะจงกับคนไข้ เป็นต้น โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การแพทย์แม่นยำนี้ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจำเป็นต้องอาศัยการวิจัยร่วมกันระหว่าง 11 หน่วยงาน ในการสนับสนุนด้านบุคลากร เครื่องมือขั้นสูงและงบประมาณ ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านพันธุกรรมมนุษย์ร่วมกัน และการจัดการการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยอาศัยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีสู่การให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน และสนับสนุนศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นผู้นำด้านการให้บริการด้านการแพทย์แม่นยำภายใน 3 ปี

ทางด้าน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ในปี 2561 สวรส. มีโจทย์การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการใช้ยาที่เหมาะสม ปลอดภัย และการรักษาอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งการวิจัยดังกล่าวมีปัจจัยทางพันธุกรรมการตอบสนองต่อยาเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางพันธุศาสตร์ของผู้ป่วยเพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และเพื่อให้เกิดการใช้ยารักษาอย่างจำเพาะกับลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น การตรวจยืนยันปัจจัยทางพันธุกรรมของผู้ป่วยก่อนการจ่ายยา ซึ่งการตรวจพันธุกรรมจะสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแพ้ยาที่แพทย์จะจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการป้องกันและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะผื่นแพ้ยาจากกลุ่มอาการสตีเวนส์–จอห์นสันได้ นอกจากนี้ ผลจากวิจัยเชิงระบบจะถูกนำไปสังเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้การตรวจลักษณะทางพันธุกรรมเป็นประโยชน์เชิงนโยบายต่อการนำไปใช้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบบริการสุขภาพต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ