สภาวิศวกร ชู งานก่อสร้างไทย ใช้ “BIM” ปฎิวัติการออกแบบตึกสูง ยุคไทยแลนด์ 4.0

พฤหัส ๒๙ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๑๓
"สภาวิศวกร" แนะอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เร่งปฏิรูปศักยภาพงานออกแบบ ให้องค์กรและวิศวกรไทย หันมาใช้ระบบออกแบบ 3 มิติ หรือ "BIM" เป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพงานออกแบบอาคารและโครงสร้างพื้นฐานในทุกๆ ด้าน ชี้ให้ประโยชน์เกิดคุ้ม ควบคุมต้นทุนงานก่อสร้างได้ดี ช่วยภาครัฐควบคุมอาคารและโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้นได้ และลดปัญหาคอรัปชั่นในการจัดซื้อจัดจ้าง

ศ. ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างและงานออกแบบของไทย ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพด้านงานออกแบบรองรับเศรษฐกิจยุคไทยแลนด์ 4.0 ไปในทิศทางหรือแนวทางที่กล่าวได้ว่าเป็นการปฏิรูปหรือปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยโฉมใหม่ทั้งระบบ เพื่อสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ทุกรูปแบบ และองค์กรเติบโตก้าวทันกระแสการพัฒนาของโลก เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติในปัจจุบันนี้ กำลังเปลี่ยนโฉมงานออกแบบใหม่ไปสู่ระบบ 3 มิติ ด้วยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "BIM" (Building Information Modeling) และหันมาใช้ระบบ BIM แทนที่ระบบ AutoCAD (Computer Aided Design) ที่เป็น 2 มิติ การทำงานแบบเดิมที่ใช้กันมานานแล้ว

"ขณะนี้ สภาวิศวกร ได้ร่วมมือกับสภาสถาปนิก องค์กรวิศวกรรมการ และภาคเอกชน สนับสนุนและส่งเสริมให้วงการอุตสาหกรรมก่อสร้างและวิศวกรไทยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการออกแบบต่างๆ หันมาปฏิรูปและพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของตนเองและองค์กรให้เกิดความก้าวหน้า ในเรื่องงานออกแบบและก่อสร้างอาคารโดยใช้ระบบ BIM" ศ. ดร. อมร พิมานมาศกล่าวเสริม

เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวอีกว่า การออกแบบก่อสร้างด้วยระบบ BIM แบบ 3 มิตินี้ ยังช่วยให้เกิดการบริหารจัดการอาคารอย่างครบวงจร เริ่มต้งแต่ ออกแบบ ก่อสร้าง จนถึงการใช้งานและการดูแลรักษาอาคาร โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่และสูงในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ที่เติบโตไปในทิศทางแนวดิ่งหรือแนวสูง เนื่องจากพื้นที่แปลงใหญ่เหลือน้อยลง การก่อสร้างมักอยู่ในพื้นที่เล็กและแคบลง ที่นับวันส่งผลทำให้ต้องมีระบบการบริหารจัดการอาคาร ที่ต้องมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย หากเมื่อใดที่เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยและปัญหาอื่นๆ ขึ้นแล้ว โครงสร้างอาคารที่ได้รับการออกแบบด้วยระบบ BIM จะสามารถตรวจสอบและเรียกแบบ 3 มิตินี้ขึ้นมาตรวจดูและตรวจสอบเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ทันเหตุการณ์

ทังนี้ BIM เป็นระบบการจำลองข้อมูลต่างๆ ของอาคาร สร้างแบบเป็น โมเดล 3 มิติ ขึ้นมา โดยที่แบบแปลนจะเชื่อมต่อกันทุกส่วน ไม่ว่าจะมีมุมมองในมุมไหน ก็สามารถเรียกหาข้อมูลและบอกสัดส่วนงานทุกด้านได้อย่างชัดเจน BIM ยังสามารถระบุข้อมูลว่า ชิ้นส่วนนั้นๆ สร้างขึ้นจากอะไร และสามารถรู้ปริมาณการใช้วัสดุทั้งหมด เช่น ปริมาณคอนกรีต ปริมาณเหล็กเสริม ทำให้ได้เห็นภาพรวมทั้งหมดได้ จึงให้ประโยชน์เกินคุมและยังช่วยควบคุมต้นทุนงานก่อสร้างได้อีกด้วย และลดปัญหาการคอรัปชั่นในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งต่างจากการใช้คอมพิวเตอร์ ออกแบบจากโปรแกรม CAD 2 มิติ ที่ได้แบบแปลนที่ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกัน เมื่อเอาแบบหลายๆ อย่างมากซ้อนๆกัน เกิดปัญหาแบบตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง และทำให้เกิดความสับสน และเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตในการคิดปริมาณงานเพิ่มงานลดอีกด้วย

อนึ่ง ปัจจุบันเทคโนโลยี BIM เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการออกแบบก่อสร้างมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เข้าสู่การทำงานที่มากกว่า 3 มิติ ซึ่งมีจุดเด่น และข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อ สถาปนิก, บริษัทออกแบบ, เจ้าของโครงการ, วิศวกร หรือผู้รับเหมา มากมาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version