แอร์ ไชน่า ประกาศผลการดำเนินงานปี 2560

พฤหัส ๒๙ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๘:๓๒
- ปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันหลัก และทำกำไรได้อย่างโดดเด่น

บริษัท แอร์ ไชน่า จำกัด ("แอร์ ไชน่า" หรือ "บริษัทฯ" และบริษัทย่อย รวมเรียกว่า "กลุ่มบริษัท") (HKEX: 00753; LSE: AIRC; SSE: 601111: ADR OTC: AIRYY) ประกาศผลการดำเนินงานทั้งปี สำหรับงวด 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ("งวดปี")

ข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ

-รายได้เพิ่มขึ้น 7.71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 1.24026 แสนล้านหยวน

- รายจ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 15.02% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 1.12270 แสนล้านหยวน

- กำไรก่อนภาษีเพิ่มขึ้น 12.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่ระดับ 1.1486 หมื่นล้านหยวน

- กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 11.38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 8.631 พันล้านหยวน

ในปี 2560 ตลาดการบินโดยสารของจีนยังคงแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ขณะที่อุปสงค์การเดินทางขาออกยังคงปรับตัวขึ้น การขนส่งระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง และธุรกิจขนส่งสินค้าแสดงสัญญาณของการฟื้น ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการบริหารจัดการปริมาณการขนส่งให้เหมาะสมกับขีดความสามารถในการรองรับ กลุ่มบริษัทใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่อย่างมากมายในตลาด ด้วยการขยายขนาดธุรกิจอย่างรอบคอบ ปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม รักษาระดับรายได้ให้มีเสถียรภาพ และเสริมสร้างการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อสนับสนุนความได้เปรียบด้านการแข่งขันในธุรกิจหลัก โดยถึงแม้มีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น ราคาน้ำมันเชื่อเพลิงเครื่องบินที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ทางกลุ่มบริษัทก็ยังคงสามารถทำผลประกอบการได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงปีที่ผ่านมา

ข้อมูลการเงินที่สำคัญ

กลุ่มบริษัทมีรายได้ 1.24026 แสนล้านหยวนในปี 2560 เพิ่มขึ้น 7.71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า รายได้จากการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น 7.53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สู่ระดับ 1.15380 แสนล้านหยวน รายได้จากการโดยสารทางอากาศเพิ่มขึ้น 6.19% ขณะที่รายได้จากการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น 23.48% และรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 8.646 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

รายจ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 15.02% แตะ 1.12270 แสนล้านหยวน ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 6.427 พันล้านหยวน หรือ 29.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า กลุ่มบริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 2.938 พันล้านหยวน

ในปี 2560 กำไรก่อนภาษีอยู่ที่ 1.1486 หมื่นล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้น 12.47% จากปีก่อนหน้า กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.641 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 11.38% จากปีก่อนหน้า กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน อยู่ที่ 7.244 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 6.39% จากปีก่อนหน้า

ตามแผนการจัดสรรกำไรปี 2560 ของบริษัท ทางคณะกรรมการได้เสนอแนะให้มีการจัดสรรกำไรหลังหักภาษี 10% เป็นเงินสำรองส่วนเกินตามกฎหมาย และ 10% เป็นเงินสำรองส่วนเกินตามดุลยพินิจ และจ่ายเงินสดปันผล 1.1497 หยวน (รวมภาษี) ต่อทุก ๆ 10 หุ้นสำหรับปี 2560 แผนจ่ายเงินปันผลสุทธิที่เกี่ยวข้องจะถูกส่งให้กับที่ประชุมสามัญประจำปี 2560 ของบริษัทพิจารณาต่อไป

การทบทวนธุรกิจ

ในงวดปีที่ผ่านมา ระวางบรรทุกของเครื่องบินโดยคำนวณจากปริมาณการขนส่งรวม คิดเป็นตันต่อกิโลเมตร (ATK) อยู่ที่ 3.5673 หมื่นล้าน ซึ่งเพิ่มขึ้น 5.61% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการขนส่งรวม คิดเป็นตันต่อกิโลเมตร (RTK) อยู่ที่ 2.5385 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 7.12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ผู้โดยสาร

ในช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มบริษัทได้ขนส่งผู้โดยสารรวมกันทั้งสิ้น 102 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 5.15% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งคิดเป็นที่นั่งต่อกิโลเมตร (ASK) เพิ่มขึ้น 6.26% สู่ระดับ 2.47815 แสนล้าน ขณะที่ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารบนเส้นทางบินในประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 5.88% และ 7.80% ตามลำดับ ส่วนปริมาณการขนส่งผู้โดยสารระหว่างภูมิภาคลดลง 1.99% สำหรับปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งวัดจากปริมาณการขนผู้โดยสารโดยรวม (RPK) เพิ่มขิ้น 6.87% สู่ระดับ 2.10078 แสนล้าน นอกจากนี้ ความถี่ของเที่ยวบินในประเทศ ระหว่างประเทศ และภูมิภาค เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6.16%, 8.55% และ 2.79% ตามลำดับ ขณะที่อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 0.46% เป็น 81.14% ทั้งนี้ ในปี 2560 ทางกลุ่มบริษัทได้เปิดตัวเครื่องบินใหม่จำนวน 56 ลำ และปลดระวางเครื่องบินเก่าไป 11 ลำ ส่งผลให้มีเครื่องบินให้บริการอยู่ทั้งสิ้น 655 ลำ โดยเครื่องบินเหล่านั้นมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 6.53 ปี

เดินหน้าขยายเครือข่ายเส้นทางบิน และยกระดับการก่อสร้างสนามบินศูนย์กลาง

สืบเนื่องจากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งรวมถึง Belt and Road Initiative และโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย กลุ่มบริษัทจึงได้เปิดตัวเส้นทางบินในประเทศ 49 เส้นทาง อาทิ ปักกิ่ง-เหมาไถ่ และเส้นทางบินระหว่างประเทศและภูมิภาคอีก 12 เส้นทางซึ่งรวมถึง ปักกิ่ง-อัสตานา ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2560 นอกจากนี้ ทางกลุ่มบริษัทยังได้พยายามเร่งการเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางบินให้ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลกผ่านเมืองหลักอย่างปักกิ่ง เฉิงตู เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น ในขณะเดียวกันก็เดินหน้าพัฒนาประสิทธิภาพของโครงสร้างเครือข่ายเที่ยวบินอย่างต่อเนื่อง และมีเที่ยวบินที่เชื่อมโยงระหว่างต้นทางจนถึงปลายทาง (O&D) อยู่ถึง 5,918 เที่ยวบิน เนื่องจากคุณภาพและปริมาณการขนส่งผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้จากการให้บริการเชื่อมต่อระหว่างสายการบินอยู่ที่ 5.51 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจุบันกลุ่มบริษัทมีบริการเช็คทรูกระเป๋าในทุกเที่ยวบินจากยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ที่เปลี่ยนเครื่องไปเป็นเที่ยวบินในประเทศผ่านสนามบินปักกิ่ง นอกจากนี้ ฐานการบินของกลุ่มบริษัทยังมีความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 พบว่า บริษัทให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารถึง 420 เส้นทาง โดยแบ่งเป็นเส้นทางบินในแผ่นดินใหญ่ 303 เส้นทาง เส้นทางบินระหว่างประเทศ 101 เส้นทาง และเส้นทางบินระหว่างภูมิภาค 16 เส้นทาง ที่บินไปยัง 40 ประเทศและภูมิภาค และ 185 เมื่อง แบ่งออกเป็น 116 เมืองในแผ่นดินใหญ่ 66 เมืองในต่างประเทศ และ 3 เมืองภูมิภาค

ปรับปรุงความสามารถทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง และเร่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ

ในปี 2560 กลุ่มบริษัทได้ปรับปรุงความสามารถด้านการตลาด พร้อมเร่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรูปแบบธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นสุดงวดปี พบว่า สมาชิกสะสมไมล์มีจำนวนมากกว่า 50 ล้านคน ซึ่งสร้างรายได้คิดเป็น 43.7% ของรายได้ทั้งหมดของกลุ่มบริษัท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.8% ทั้งนี้ ความทุ่มเทพยายามในการปรับปรุงแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันมือถืออย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นแตะ 5.02 พันล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 39.4% นอกจากนี้ การศึกษาเชิงลึกกี่ยวกับความต้องการของผู้โดยสาร ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มบริษัท ยังช่วยให้แอร์ ไชน่า มีรายได้จากให้บริการชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.311 หมื่นล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 12.7% โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากบริการเสริมต่าง ๆ อาทิ ค่าบริการเลือกที่นั่ง การซื้อน้ำหนักกระเป๋าเดินทางล่วงหน้า และการอัพเกรดเพื่อขึ้นเครื่องก่อน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 32% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ส่งเสริมกลยุทธ์แบรนด์คุณภาพสูง และปรับปรุงคุณภาพบริการ

กลุ่มบริษัทมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับแนวคิด "อินเทอร์เน็ตกับการขนส่งที่สะดวกสบาย" ผ่านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การเช็คอินด้วยตัวเอง การรับรองตั๋วโดยสารด้วยตัวเอง การพิมพ์ใบจองตั๋วและการเช็คอินกระเป๋าเดินทางด้วยตัวเองในทุกเส้นทางการบิน รวมไปถึงสร้างโหมดบริการเดินทางที่สะดวกตลอดขั้นตอน นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทยังคงเดินหน้าปรับปรุงบริการฮาร์ดแวร์อย่างต่อเนื่อง เช่น รหัสดำเนินการเพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการ โดยแอร์ ไชน่า พยายามที่จะส่งเสริมการประยุกต์ใช้บิ๊กดาต้า และสร้าง "ห้องโดยสารเคลื่อนที่" ขึ้นเพื่อต้องการทราบถึงการส่งข้อมูลการดำเนินงานอย่างทันท่วงที รวมทั้งเชื่อมโยงห่วงโซ่ของข้อมูลการบริการทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยในฐานะพันธมิตรอย่างเป็นทางการในการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง ในปี 2565 และมหกรรมพืชสวนโลกปี 2562 ในกรุงปักกิ่ง กลุ่มบริษัทได้ใช้โอกาสนี้ในการประชาสัมพันธ์แบรนด์ในรูปแบบใหม่ และสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยการชูความเป็น "ผู้นำของอุตสาหกรรมการบินพลเรือนในประเทศจีน" และให้บริการ "ครอบคลุมเครือข่ายระหว่างประเทศ"

เพิ่มการควบคุมค่าใช้จ่าย และรักษาความได้เปรียบด้านต้นทุน

กลุ่มบริษัททุ่มเทพลังอย่างมากในการปรับปรุงและยกระดับการจัดการ รวมถึงปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของบริการ โดยแอร์ ไชน่า มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริการของเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้าง เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการต้นทุน เสริมสร้างกระบวนการบริหารจัดการต้นทุนและพัฒนาประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันกลุ่มบริษัทได้ดำเนินนโยบาย "Lower Leverage, Reduce Liability and Control Risk" เป็นผลให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกลุ่มบริษัทลดลง 6.15% มาอยู่ที่ 59.75% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำในอุตสาหกรรม กลุ่มบริษัทยังได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการพิเศษ เช่น "เพิ่มยอดขายทางตรงและลดต้นทุนการจัดจำหน่าย" รวมถึง "ลดลูกหนี้การค้าและสินค้าคงคลัง" และ "ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ" นับตั้งแต่ปี 2557 อัตราส่วนร้อยละของการขายตรงเที่ยวบินโดยสารของกลุ่มบริษัทเพิ่มขึ้น 26% สู่ระดับ 50.9% และอัตราส่วนร้อยละของค่านายหน้าตัวแทนท่องเที่ยวต่อรายได้ด้านการตลาดลดลง 4.2% มาอยู่ที่ 1.5% ดังนั้น ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนของแอร์ ไชน่า จึงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจขนส่งสินค้า

ในปี 2560 ธุรกิจแอร์ ไชน่า คาร์โก้ มีผลประกอบการที่ดี เป็นผลจากโมเดลธุรกิจใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการเส้นทางและโครงสร้างของแหล่งขนส่งสินค้า ตลอดจนมุ่งเน้นการพัฒนาและเพิ่มบริการเสริมที่มีมูลค่าสูง เช่น โลจิสติกส์ห้องเย็น

โดยในช่วงเวลาดังกล่าว แอร์ ไชน่า คาร์โก้ มีพื้นที่ระวางบรรทุกของเครื่องบินขนส่งสินค้าคิดเป็นตันต่อกิโลเมตร (AFTK) เพิ่มขึ้น 4.57% จากปีก่อนหน้า สู่ระดับ 1.3319 หมื่นล้าน ขณะที่ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์คิดเป็นตันต่อกิโลเมตร (RFTK) เพิ่มขึ้น 7.97% จากปีก่อน อยู่ที่ 7.553 พันล้าน ส่วนอัตราการบรรทุกสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพิ่มขึ้น 1.78% เป็น 56.70%

เกี่ยวกับ แอร์ ไชน่า

บริษัท แอร์ ไชน่า จำกัด เป็นผู้ประกอบการสายการบินแห่งชาติของจีน และเป็นผู้ให้บริการเที่ยวบินโดยสาร การขนส่งสินค้าทางอากาศ รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายการบินในประเทศจีน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในปักกิ่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศที่สำคัญของจีน สำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับสายการบินนั้นรวมถึงการซ่อมบำรุงเครื่องบิน และการบริการภาคพื้นในปักกิ่ง เฉิงตู และเมืองอื่น ๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ทางกลุ่มบริษัทมีฝูงบินจำนวน 655 ลำ ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 6.53 ปี ขณะที่บริษัทฯ มีฝูงบิน 396 ลำ ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 6.57 ปี สำหรับให้บริการในเส้นทางบินโดยสาร 420 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางบินระหว่างประเทศ 101 เส้นทาง ภูมิภาค 16 เส้นทาง และในประเทศ 303 เส้นทาง เครือข่ายการบินของบริษัทครอบคลุม 40 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก และ 185 เมือง ซึ่งประกอบด้วย 66 เมืองในต่างประเทศ 3 เมืองในภูมิภาค และ 116 เมืองในประเทศ แอร์ ไชน่าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงและตลาดหุ้นลอนดอน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 ภายใต้รหัส 00753 และ AIRC ตามลำดับ และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2549 แอร์ ไชน่าได้นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ภายใต้รหัส 601111 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ของแอร์ ไชน่า ที่ www.airchina.com.cn

ข้อจำกัดความรับผิด

ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งสะท้อนมุมมองปัจจุบันของบริษัทเกี่ยวกับเหตุการณ์และผลการดำเนินงานทางการเงินในอนาคต มุมมองเหล่านี้ตั้งอยู่บนสมมติฐาน ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีความเสี่ยงหลายประการ และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า เหตุการณ์ในอนาคตจะเกิดขึ้น การคาดการณ์จะเป็นจริง หรือสมมุติฐานของบริษัทจะถูกต้อง โดยผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างอย่างมากจากที่ได้คาดการณ์ไว้

นักลงทุนสัมพันธ์และสื่อมวลชนติดต่อตอบถามได้ที่:

Air China

Joyce Zhang

Investor Relations

Air China Limited

โทร: (8610) 6146-2560

อีเมล: [email protected]

Cao Yu

Investor Relations

Air China Limited

โทร: (8610) 6146-2788

อีเมล: [email protected]

Investor Relations

Serana Liu

Wonderful Sky Financial Group

โทร: (852) 3970 2198

อีเมล: [email protected]

Wendy Lu

Wonderful Sky Financial Group

โทร: (852) 3641 1325

อีเมล: [email protected]

โลโก้ - https://photos.prnasia.com/prnh/20180323/2086726-1LOGO

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ