นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ภัยแล้งเป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อลด ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการปฏิบัติตนเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ดังนี้ การปฏิบัติตนเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ประชาชนควรปฏิบัติ ดังนี้ จัดหาและซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน ใช้ภาชนะรองน้ำแทนการปล่อยน้ำจากก๊อกน้ำหรือสายยาง เพื่อลดการสิ้นเปลืองน้ำ ในปริมาณมาก นำน้ำที่เหลือจากการใช้งานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อาทิ ทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ ติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือชักโครก เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ หมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ หากพบจุดน้ำรั่วซึม ให้รีบซ่อมแซมไม่ทิ้งเศษอาหารหรือกระดาษทิชชูลงชักโครก เพราะทำให้สูญเสียน้ำในปริมาณมาก เกษตรกร ควรปฏิบัติ ดังนี้ ติดตามสถานการณ์น้ำและแผนการจัดสรรน้ำ จะได้วางแผนการเพาะปลูกได้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ งดทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันนาข้าวได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ เพาะปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย อาทิ พืชตระกูลถั่ว เมลอน แตงโม ทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อยอาทิ ใช้พลาสติกคลุมดิน นำเศษหญ้าคลุมโคนต้นไม้หรือวางระบบน้ำหยดในพื้นที่เพาะปลูก สร้างระบบกักเก็บน้ำ ในพื้นที่โดยขุดบ่อร่องน้ำหรือใช้ระบบน้ำบาดาลในการทำการเกษตร ป้องกันมิให้น้ำรั่วไหล โดยนำกระสอบทรายมาอุดรอยรั่วหรือใช้พลาสติกรองบ่อน้ำ ภาคอุตสาหกรรมปฏิบัติ ดังนี้ จัดหาแหล่งน้ำสำรองและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง จะได้วางแผนการผลิตได้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ ตรวจสอบระบบจัดสรรน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ทั้งท่อส่งน้ำ ระบบกระจายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย เลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีประหยัดน้ำ ซึ่งสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปภ.รายงานเกิดน้ำป่าไหลหลาก 5 จังหวัด และวาตภัย 2 จังหวัด เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปภ.รายงานเกิดวาตภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปภ.รายงานเกิดวาตภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย