ทั้งนี้ ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์
คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา (ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ "สระผม" แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสาง สิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่า ดำหัว มาต่อท้ายคำว่า รดน้ำ ซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อน คำว่า "รดน้ำดำหัว" ประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง ที่ประชาชนชาวไทยถือปฏิบัติสืเวลาที่ยาวนาน ซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือ การรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัย ซึ่งกันและกัน ที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกาย ล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม ประเพณีรดนำดำหัว หรือบางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีปีใหม่เมืองจะมีในระหว่าง วันที่ 13 15 เดือนเมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์นั่นเอง