TCCtech – UTCC ลงนาม MOU ระดับพหุภาคี ผนึกกำลังสร้างบัณฑิตดิจิทัล สอดรับแนวคิด Trade & Service 4.0

อังคาร ๐๓ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๑:๕๔
เมื่อเร็วๆ นี้ นายวรดิษฐ์ วิญญรัตน์ กรรมการบริหารและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระดับพหุภาคี (MOU) "โครงการพัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการ (สหกิจศึกษา)" กับรศ.ดร. เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และตัวแทนจากองค์กรภาคเอกชน 10 บริษัท ว่าด้วยเรื่องเจตนารมณ์และแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการ ให้มีความพร้อมรองรับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตลอดจนเต็มเติมศักยภาพให้สอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ตามแนวคิด Trade & Service 4.0 ซึ่งมุ่งใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ยกระดับความสามารถในการแข่งขันเพื่อการเติบโตในระยะยาวของประเทศ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศ ที่กำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคน จากทุกคณะและสาขา ฝึกฝนทักษะพื้นฐานการโค็ด(Coding) หรือการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สมัยใหม่ โดยมีการเปิดสอนวิชา GE 201 การคิดเชิงนวัตกรรมทางดิจิทัลและการโค้ด (Digital Innovative Thinking and Coding) โดยรศ.ดร. เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนชั้นนำด้านธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งมี พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการเป็น Practice – University ที่ให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่นักศึกษาไม่ว่าจะเรียนคณะใด นักศึกษา ทุกคนเมื่อจบการศึกษาเป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ต้องมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ที่สามารถใช้นวัตกรรมและดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ หรือที่เรียกว่า IDE (Innovation Driven Entrepreneurship)เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ด้านนายวรดิษฐ์ วิญญรัตน์ กรรมการบริหารและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) กล่าว "ข้อจำกัดเรื่องความสามารถของคนไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดหรือแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องของการสร้างตัวเชื่อมระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา หรือที่เรียกว่า Industry Linkage ซึ่งการผนึกกำลังกันครั้งนี้ ในการสร้างคนคุณภาพเพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงาน ถือเป็นแนวทางสำคัญที่ต้องเร่งทำและควรทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านภายใต้ ecosystem ที่ครอบคลุมทั้ง Data Centers ,Connectivity และ Computing Resources ทำให้ทีซีซีเทคมีความพร้อมและศักยภาพในการช่วยพัฒนาทักษะแก่นักศึกษา ซึ่งเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งกับโครงการที่น่าตื่นเต้นนี้"

จากผลการสำรวจของ Oxford Economics เกี่ยวกับ Global Talent 2021 สะท้อนทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะเด่นๆ ที่มีความต้องการสูงในช่วง 10 ปีข้างหน้า รวมถึงกระแสการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมภายใต้รูปแบบ Transformation อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนตามข้อมูลประกอบที่จัดทำโดย Oxford ด้านล่าง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี