กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผนึกกำลังทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้าเกษตรกรรมยั่งยืน เปิดเวทีระดมความคิดเห็นปั้น “Road Map ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้แผนฯ 12” มุ่งเป้าเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่ในปี 64

พุธ ๐๔ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๕:๑๐
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้แผนฯ 12" ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี ว่าประเทศไทยได้มีการบรรจุเป้าหมายการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) และต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่กำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 5 ล้านไร่ ในปี 2564 แต่ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนยังเป็นไปอย่างยากลำบาก แม้จะมีความพยามจากหลายภาคส่วน แต่พื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้ปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยยกเลิกคณะกรรมการฯในบางส่วนที่มีความซ้ำซ้อนและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนขึ้นใหม่ เพื่อเร่งรัดดำเนินการกำหนดมาตรการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทั้งระดับนโยบาย และการทำงานระดับพื้นที่ไปพร้อมกัน เพื่อผลักดันให้เกิดการขยายผลเกษตรกรรมยั่งยืนในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ในการสนับสนุนให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนในภาคอีสาน โดยเริ่มต้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธรอำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ เพื่อให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ล้านไร่ และมีแผนจะขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป อีกทั้งได้มีการประกาศปฏิญญาขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทยพีจีเอส ที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายต่างๆโดยกระทรวงเกษตรฯ อยู่ในระหว่างเร่งรัดการทำงานให้เกิดผลในเชิงพื้นที่

"ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานหลักแนวคิดสู่การปฏิบัติในเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) ปรัชญา (2)ทฤษฎีใหม่ (3)วิธีปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน (4) เทคนิค:นวัตกรรมและ(5) วิธีบริหารบนความขาดแคลน (แบบคนจน) ทรงเน้นย้ำว่า ความยั่งยืน คือความเหมาะสม โดยเริ่มจากการพัฒนาคน เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและอยู่ได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรที่เริ่มจากการพัฒนาตนเองปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเดิมไปสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบอื่นๆ สำหรับการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในระยะต่อไป มี 3 เรื่องสำคัญที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องรีบดำเนินการ คือ (1) การออก พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (2) การจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในภาพรวมเพื่อกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันของทุกภาคี และ (3) การจัดทำฐานข้อมูลกลางเกษตรกรรมยั่งยืนที่สามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบนข้อเท็จจริงได้ทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ซึ่งทั้ง 3เรื่องจะเป็นประเด็นสำคัญในการระดมความคิดเห็นในการสัมมนาครั้งนี้ โดยจะนำข้อสรุปจากการสัมมนามาปรับปรุงและจัดทำแนวทางการทำงานร่วมกันให้สามารถขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนของประเทศได้ต่อไป" นายวิวัฒน์ กล่าว

ด้าน นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนขึ้นใหม่ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร) เป็นประธาน มีภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ปราชญ์เกษตร ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อกำหนดมาตรการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ โดยมุ่งเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนบรรลุผล ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน ได้ร่วมกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มาปฏิรูปการเกษตรด้วยการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน นำไปสู่การจัดทำ Road Map ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยผู้ร่วมการสัมมนาฯ ระดมความคิดเห็น ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ จำนวน120 คน ได้แก่ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนปราชญ์เกษตร และผู้นำศาสนา บ้าน วัด โรงเรียน เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ เม.ย. OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
๐๔ เม.ย. เทลสกอร์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนโครงการ 'Help You, Help Me' สู่ปีที่ 6 ผสานพลังคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม
๐๔ เม.ย. เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว สนับสนุนภารกิจกู้ภัย มอบอาหารและเครื่องดื่มให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
๐๔ เม.ย. ร้อนๆแบบนี้ มาหมุนให้ฉ่ำ!!สนุกสุดมันส์ไปกับเครื่องเล่น Water Roller ลูกบอลน้ำมหาสนุก
๐๔ เม.ย. ซัมเมอร์นี้ชวนเช็กอินสมุย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวเวลเนส ที่ BDMS Wellness Clinic สาขา Celes Samui
๐๔ เม.ย. โซเชียลจับตา ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
๐๔ เม.ย. กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
๐๔ เม.ย. GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการบิวตี้ครบวงจรอันดับ 1 ในไทยเปิดตัวบริการ GoWabi POS พร้อมประกาศรางวัล GoWabi Top Rated
๐๔ เม.ย. ทีทีบี เชิญชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์ครุฑ สืบสานพลังศรัทธา สรงน้ำ สมเด็จมหาราชทรงครุฑ เสริมพลังบุญรับปีใหม่ไทย
๐๔ เม.ย. บัตรเครดิต ทีทีบี มอบโปรฯ ฟรีอัปเกรด! HUT บุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น จ่ายเพียง 399 บาท