ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในภาคอุตสาหกรรมการเงิน โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยในการพัฒนาบริการทางด้านการเงินที่ช่วยอำนวยความสะดวกและสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลได้ทุกที่ ทุกเวลา การแข่งขันของสาขาธนาคารที่กำลังเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริการให้เข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น บวกกับความคาดหวังของผู้บริโภคที่ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้องค์กรยักษ์ใหญ่อย่างธนาคารสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้นั้นก็คือการนำ "ข้อมูล" มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ความท้าทายของสถานะกิจการที่เป็นอยู่ (Status Quo)
ปริมาณการใช้ข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีทางการเงินมากกว่าภูมิภาคอื่น ยกตัวอย่างในประเทศจีน บริษัทเทนเซ็นต์ได้ขยายกิจการไปสู่การเปิดดิจิทัลแบงกิ้งในชื่อ WeBank โดยอาศัยการโปรโมทบริการทางการเงินให้กับผู้ใช้งานจำนวน 800 ล้านคน ผ่านแอพพลิเคชั่น WeChat ซึ่งภายในระยะเวลา 6 เดือนแรก Webank ใช้เงินลงทุนจำนวน 800 ล้านหยวนไปกับการดำเนินการติดต่อลูกค้าเฉพาะรายและองค์กรขนาดเล็กให้กับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ
ทางด้านธนาคาร Timo (ย่อมาจาก 'Time and Money') ของประเทศเวียดนาม ได้ร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นเพื่อสร้างบริการดิจิทัลแบงกิ้งเป็นครั้งแรกในประเทศ มอบบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ ตลอดจนสามารถเติมเงินในมือถือได้บนแพลตฟอร์มเดียว แทนที่จะต้องเสียเวลารอคิวที่สาขา หรือการล็อคอินเข้าสู่ระบบต่างๆ เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์
บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ เหล่านี้ มีองค์ประกอบที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือการออกแบบที่มีพื้นฐานมาจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ้ก ดาต้า ภาคการเงินกำลังตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ในธุรกิจของพวกเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็พร้อมด้วยความมั่นคง
และอีกหนึ่งตัวอย่างด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ธนาคารดีบีเอสของประเทศสิงคโปร์ได้ทำการติดตั้ง Digibank ในประเทศอินโดนีเซียและอินเดีย ซึ่งมีคอนเซปต์เป็นธนาคารไร้สาขาที่ไม่ต้องใช้เอกสารหรือลายเซนต์ในการดำเนินการ แต่ทำทุกอย่างผ่านระบบมือถือเท่านั้น
การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยักษใหญ่อย่างธนาคาร ส่วนหนึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในสถาบันการเงินที่ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและพร้อมที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันเทคโนโลยี นายแดริล เวส ซีไอโอแห่งธนาคารเอชเอสบีซี ได้กล่าวในงานสัมนา Google Cloud Next Conference ครั้งล่าสุด ที่เมืองซานฟรานซิสโกไว้ว่า นอกเหนือจากทรัพย์สินมูลค่า 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ฐานข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทเช่นเดียวกัน นายเวส มองเห็นการเพิ่มขึ้นของข้อมูลจำนวนมหาศาล ที่เกิดจากการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลของลูกค้า การเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้าอย่างชาญฉลาด ทำให้ธนาคารเอชเอสบีซีร่วมมือกับบริษัทฟินเทคเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และสร้างประสบการณ์ที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมได้ยิ่งขึ้น
อัจฉริยภาพคือหนทางที่นำไปสู่โอกาส
หากมองในมุมของลูกค้าที่ใช้บริการเน็ตแอพ การดึงศักยภาพของข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถือเป็นจุดมุ่งหมายหลักที่ทำให้ลูกค้าเลือกใช้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง รายงานการคาดการณ์ฉบับล่าสุดจากไอดีซีภายใต้หัวข้อ Cloud in Banking in Asia Pacific เผยถึงการใช้งานคลาวด์ของธนาคารในภูมิภาคที่จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดในอีกสองปีข้างหน้า เมื่อลูกค้าต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการในทุกที่ ทุกเวลา สถาบันทางการเงินจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากการนำข้อมูลเชิงลึกมาต่อยอด เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าแบบเรียลไทม์
ตัวอย่างเช่น การที่อูเบอร์สามารถแนะนำสถานที่ต่อไปของคุณได้แบบอัตโนมัติทันทีที่คุณเปิดแอปพลิเคชัน หรือการที่ธนาคารสามารถนำเสนอสินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ย 0% เพื่อให้ลูกค้าสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายภายในเวลาที่กำหนดได้ การทำงานของระบบหลังบ้านที่อาศัยรูปแบบการกู้ยืมครั้งก่อน และใช้อัลกอริทึมในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ใช้ ก่อนที่จะทำการปล่อยสินเชื่อให้ผู้กู้ยืมรายนั้นโดยทันที
ข้อมูลคือปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการทำงานของระบบออโตเมชัน และช่วยฝึกฝนอัลกอริทึมของแมชชีน เลิร์นนิ่ง เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านระบบการทำงานของธนาคารได้ในอนาคต ธนาคารดีบีเอส ธนาคารยูโอบี และธนาคารโอซีบีซี ประสบความสำเร็จในการสร้างประสบการณ์การให้บริการแบบมัลติชาแนล ด้วยการนำเสนอบริการธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์บนแพลตฟอร์มเดียวกัน การพัฒนาในครั้งนี้อาศัยการทำงานของโซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม การบูรณาการและการเชื่อมโยงข้อมูลอาจนำมาซึ่งปัญหาได้เช่นเดียวกัน หากธนาคารสร้างแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิต การวิเคราะห์แนวทางการดำเนินการ และการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ที่เป็นไปคนละทิศทาง ปราศจากการสื่อสารกันภายในองค์กร ระบบไซโลส่วนใหญ่มักใช้การตรวจสอบข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และประเมินความเสี่ยงต่างๆ การสร้างสรรค์บริการลูกค้าในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนเป็นผลมาจากการวางระบบข้อมูลและเทคโลยีที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลข้ามธนาคารและจัดการกับความท้าทายระดับสถาบันได้
สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นอุปสรรคของการนำบิ้ก ดาต้ามาใช้งานคือความไม่ราบรื่นและความยุ่งยากซับซ้อนในระบบภายในองค์กร มีเพียงสถาบันไม่กี่แห่งที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลและการวิเคราะห์ต่างๆ มาเป็นอันดับแรก เน็ตแอพจึงขอนำเสนอขั้นตอนที่จะทำให้สถาบันการเงินธนาคาร สามารถพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลให้ครบวงจรเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้ดังนี้
ความสามารถในการมองเห็นข้อมูลตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางด้วย ซอฟต์แวร์ Oncommand Insight: ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยรายงานที่มาที่ไปของข้อมูล และการเคลื่อนย้ายของข้อมูลระหว่างไพรเวทคลาวด์หรือพับลิคคลาวด์ รวมถึงสภาพแวดล้อมอื่นๆ
ซอฟต์แวร์ ONTAP ที่ช่วยให้การบริหารจัดการข้อมูลง่ายดายยิ่งขึ้น: มอบกระบวนการที่เป็นแบบแผนและรูปแบบอินเตอร์เฟสสำหรับข้อมูลของบริษัท ช่วยลดความเสี่ยงและความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินงาน
SnapLock ข้อปฏิบัติทางด้านข้อมูลเพื่อรักษาความปลอดภัยทุกเวลา: ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริการหรือช่วงเวลาที่เกิดการขัดข้อง สร้างความสอดคล้องกับกฏข้อบังคับและข้อกำหนดของหลักการบริหารจัดการทางด้านไอที
ธนาคารพาณิชย์แห่งอนาคต คือธุรกิจที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน มีความเข้าใจรูปแบบการดำเนินการ สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ต่างๆ และปรับปรุงกระบวนการการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและองค์กรที่ต้องพึ่งพาช่องทางดิจิทัล ปัจจุบัน สถาบันทางการเงินจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและสร้างระบบที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางที่มาพร้อมกับโซลูชั่นสำหรับบริการด้านการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตและยกระดับธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเน็ตแอพ
เน็ตแอพ ผู้นำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก นำเสนอทางเลือกในการเข้าถึงข้อมูลและการควบคุมสภาพแวดล้อมของการจัดเก็บข้อมูลทุกประเภท เอื้อประโยชน์ให้องค์กรระดับเอนเตอร์ไพรซ์สามารถบริหารจัดการข้อมูลบนสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลบนระบบดั้งเดิมภายในองค์กร (On Premises) ไพรเวทคลาวด์ และพับลิคคลาวด์ได้อย่างอิสระ เน็ตแอพ ร่วมกับกับพันธมิตร พร้อมนำเสนอโซลูชั่นระดับเอนเตอร์ไพรซ์แบบครบวงจร ช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในองค์กรให้มีความทันสมัย สร้างศูนย์ข้อมูลรุ่นถัดไป (next-generation data center) และใช้ประโยชน์จากไฮบริดคลาวด์เพื่อเร่งสร้างแอปพลิเคชันข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เน็ตแอพในฐานะผู้บุกเบิกวิสัยทัศน์ Data Fabric แนวทางที่มอบความเรียบง่ายในการทำงาน ออกแบบมาสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน นักออกแบบสถาปัตยกรรมคลาวด์ นักพัฒนา และซีไอโอ เพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมโยงและบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างปลอดภัยบนสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ความต่างที่ไม่เหมือนใครของเน็ตแอพมอบอิสระให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้ด้วยการนำเอาศักยภาพข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมจากเน็ตแอพได้ที่ https://www.netapp.com/